Thursday, November 26, 2009

ประกวดพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ

เสียงแซ่ซ้อง “ทรงพระเจริญ” จะก้องกังวาล อีกครั้ง
ในงานแสดงและประกวดพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ
“ดวงประทีปพราวนภา เทิดราชาราชินี บารมีศรีแผ่นดิน”
Thailand’s Festival of International Fireworks in Honor of Their Majesties

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ The Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 7th Cycle Birthday Anniversary 5th December 2011 ในวาระอันเป็นมหามงคลยิ่ง ครั้งนี้ กระทรวงกลาโหม ส่วนราชการต่างๆ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ร่วมกันจัดงานแสดงและประกวดพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ “ดวงประทีปพราวนภา เทิดราชาราชินี บารมีศรีแผ่นดิน” Thailand’s Festival of International Fireworks in Honor of Their Majesties เพื่อให้ปวงชนชาวไทยและชาวต่างชาติร่วมถวายความจงรักภักดี และมีส่วน ร่วมในการแสดงความปิติยินดี และเฉลิมฉลองในพระบรมเดชานภุาพ เพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ความมั่นคง ความรุ่งโรจน์ ทางเศรษฐกิจ ภายใต้ร่มพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และถวายเป็นราชสักการะ แด่ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงสร้างคุณประโยชน์คุณูปการแก่ประเทศชาติอย่างเอนกอันนต์

กิจกรรมการประกวดพลุนานาชาติฯ ดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการครั้งแรกในเดือนธันวาคม ๒๕๕๒ ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ เนื่องจากการจัดงานแสดงและการประกวดพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรตฯิ ในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากนานาประเทศเป็นอย่างมาก ขณะนี้ มีประเทศทแจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมการแสดงพลุฯ กว่า ๑๐ ประเทศ อันได้แก่ ออสเตรเลีย จีน เดนมารก์ เยอรมนี อติาล ี ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับอิมิเรสต ์ สหรัฐอเมริกา และไทย โดยในครั้งแรกนี้ใช้ชื่องานว่า "งานแสดงและประกวดพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ดวงประทีปพราวนภา เทิดราชาราชินี บารมีศรีแผ่นดิน ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๘๒ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒” และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Festival of International Fireworks Contest Series in Honor of Their Majesties the King and Queen on the Occasion of His Majesty the King’s 82th Birthday Anniversary 5th December 2009 ”

ขอเชิญพี่น้องประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า รวมถึงชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ร่วมเป็นพลังแห่งการสร้างสรรค์งานเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคล ในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ ธันวาคม ศกนี้ ณ บริเวณริม
ทะเลสาบ เมืองทองธานี ตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐ น. เป็นต้นไป โดยภายในงานจัดให้มี นิทรรศการเทิดพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กิจกรรมบันเทิงและการออกร้านต่างๆมากมาย อาทิ การแสดงวงโยธวาทิต และคอนเสิร์ตจากศิลปินนักร้องยอดนิยม , การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้าราคาถูก เป็นต้น เวลา ๑๗.๐๐ น. การแสดงดนตรี
ออเคสตร้า (แจ๊ส) ๔ เหล่าทัพ เวลา ๑๘.๓๐ น. พิธีถวายราชสดุดี และเวลา ๑๙.๐๐-๒๑.๐๐ น.พบกับความอลังการ
ของการแสดงและประกวดพลุท่ยี ิ่งใหญ่ทสี่ ุดครั้งหนึ่งของโลก โดยเปิดน่านฟ้าด้วยความระยิบระยับของพลุชุดพิเศษจากแดนมังกรสาธารณรัฐประชาชนจีน เนรมิตความตระการตาให้พร่างพราวสว่างไสวทั่วทั้งนภาเพื่อถวายเป็นราชสักการะจากนั้นเปิดท้องนภาให้เป็นสนามประลองชั้นเชิงเพื่อหาสยอดพลุที่เป็นที่สุดของโลก

ทั้งนี้กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการถ่ายทอดสดในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์
กองทัพบกช่อง ๕ และทาง ทรู วิชั่นส์ ตั้งแต่เวลา ๑๘๓๐ ถึงเวลา ๒๑๐๐ โดยส่งสัญญาณทางโทรทัศน์ TGN ไปสู่
ผู้ชมทั่วโลกกว่า ๑๗๐ ประเทศ

“ ทั่วผื้นฟ้าจักสว่างไสวด้วยความภักดี ” วัน อาทติย์ ที่ ๑๓ ธันวาคม ศกนี้ ขอเชิญชวนปวงชนชาวไทย ร่วมชมการ
แสดงและประกวดพลุนานานชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ในงาน “ดวงประทีปพราวนภา เทิดราชาราชินี บารมีศรีแผ่นดิน”
Thailand’s Festival of International Fireworks in Honor of Their Majesties ที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกในโลก ณ บริเวณริมทะเลสาบ เมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ ขอเชิญเข้าชมฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถสอบถามรายละเอียด การเข้าชมได้ที่ www. mod.go.th และ โทรศัพท์ 02 225- 8262 , 02 226 3814 (ในเวลาทำการ)

Tuesday, November 3, 2009

Buddha image













ถ่ายรูปแล้วไม่ค่อยตรงเลยเบี้ยวเกือบทุกภาพ

Monday, October 5, 2009

พระบรมมหาราชวัง

ประตูทางเข้าพระบรมมหาราชวังชั้นนอก

วิมานเทเวศน์
วิเศษไชยศรี
มณีนพรัตน์
สวัสดิโสภา
เทวาพิทักษ์
ศักดิ์ไชยสิทธิ์
วิจิตรบรรจง
อนงคารักษ์
พิทักษ์บวร
สุนทรทิศา
เทวาภิรมย์
อุดมสุดารักษ์

ประตูวิมานเทเวศร์ เป็นประตูชั้นนอกพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างประตูสุนทรทิศาและประตูวิเศษไชยศรี ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นประตูสำคัญในรัชสมัยนั้น เพราะเป็นทางอัญเชิญพระราชสาสน์จากประเทศต่าง ๆ แห่เข้ามาทางประตูวิมานเทเวศร์ ผ่านหน้าศาลาลูกขุน เลี้ยวเข้าประตูพิมานไชยศรี (ประตูโค้ง กั้นระหว่างเขตพระราชฐานชั้นนอกและชั้นกลาง อยู่ระหว่างประตูวิเศษไชยศรีและพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท)ไปยังพระที่นั่งอม รินทรวินิจฉัย ถัดเข้ามาข้างในเป็น ประตูสุวรรณภิบาล

ประตูวิเศษไชยศรี เป็นประตูชั้นนอกพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างประตูวิมานเทเวศร์และป้อมขันธ์เขื่อนเพชร ตรงกับถนนหน้าพระธาตุ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นประตูสำคัญเพราะเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระมหามณเฑียร ปัจจุบันประตูวิเศษไชยศรีเป็นประตูทางเข้าออกพระบรมมหาราชวังที่สำคัญที่สุด ถัดเข้ามาด้านในเป็น ประตูพิมานไชยศรี และหากมองผ่านประตูนี้เข้าไป จะเห็นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในมุมที่สวยงามสง่า

ประตูมณีนพรัตน์ เป็นประตูชั้นนอกพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างป้อมขันธ์เขื่อนเพชรและป้อมเผด็จดัสกร ตรงข้ามกับท้องสนามหลวง สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เปิดใช้เมื่อมีการเชิญพระบรมศพออกมาตั้งที่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง ใช้เป็นประตูฉนวนให้ฝ่ายในออกไปงานพระเมรุ และรื้อฉนวนออกเมื่อเสร็จงานพร้อมทั้งปิดประตูนี้ด้วย ประตูนี้จึงปิดตลอดเวลา (มีชื่อสามัญว่า ประตูฉนวนวัดพระแก้ว)


ประตูสวัสดิโสภา ประตูสวัสดิโสภา อยู่ทางด้านทิศตะวันออก อยู่ระหว่างป้อมเผด็จดัสกรและป้อมสัญจรใจวิง ตรงข้ามกับกระทรวงกลาโหม (มีชื่อสามัญว่า ประตูทอง เพราะเป็นทางผ่านสำหรับประชาชนที่จะไปปิดทองคำเปลวบูชาพระแก้วมรกต)

ประตูเทวาพิทักษ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ตรงกับถนนสราญรมย์ ถัดจากป้อมสิงขรขันฑ์ เหนือพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ติดกับป้อมขยันยิงยุทธ

ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวังสราญรมย์ ใต้พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ติดกับป้อมฤทธิรุดโรมรัน [6] ถัดเข้ามาเป็น ประตูราชสำราญ

ประตูวิจิตรบรรจง อยู่ทางด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างป้อมมณีปราการและป้อมพิศาลสีมา บริเวณพระตำหนักสวนกุหลาบ ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพนฯ (มีชื่อสามัญว่า ประตูฉนวนชั้นนอกออกไปวัดโพธิ์) ถัดเข้ามาด้านในเป็น ประตูพิศาลทักษิณ

ประตูอนงคารักษ์ อยู่ทางด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างป้อมพิศาลสีมาและประตูพิทักษ์บวร ตรงข้ามกับวิหารพระพุทธไสยาสของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ (มีชื่อสามัญว่า ประตูผีชั้นนอก)ถัดเข้ามาด้านในเป็น ประตูกัลยาวดี (มีชื่อสามัญว่า ประตูผีชั้นใน)

ประตูพิทักษ์บวร อยู่ทางด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างประตูอนงคารักษ์และป้อมภูผาสุทัศน์ เป็นประตูด้านสกัดทางใต้ ตรงกับถนนมหาราช ข้างในตรงกับถนนสกัดกำแพง พระบรมมหาราชวัง (มีชื่อสามัญว่า ประตูแดงท้ายสนม เพราะทาสีแดง ตั้งอยู่ริมตลาดชื่อท้ายสนม)

ประตูสุนทรทิศา อยู่ทางด้านทิศเหนือ ระหว่างป้อมอินทรรังสรรและประตูวิมานเทเวศร์ ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประตูด้านสกัดทางเหนือ

ประตูเทวาภิรมย์ อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ระหว่างป้อมมหาสัตตโลหะและป้อมทัศนนิกร ตรงข้ามกับท่าราชวรดิษ (มีชื่อสามัญว่า ประตูท่าขุนนางหน้าโรงทาน)ถัดเข้ามาด้านในเป็น ประตูศรีสุนทร

ประตูอุดมสุดารักษ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันตก เป็นประตูฉนวนออกทางตรงพระที่นั่งที่ท่าราชวรดิษ ขนาบด้วยป้อมโสฬสศิลาทางด้านใต้และป้อมมหาสัตตโลหะทางด้านเหนือ

Wednesday, September 16, 2009

Sunday, September 13, 2009

คำอ่านหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

คำอ่านหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

ด้านที่ ๑

พ่อกู ชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสามผู้ญีงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยักเล็ก เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้ สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ๋น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมือง แพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชนเมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวงได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทองกูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพ่อกู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใคร่จักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้ จึ่งแล่งความแก่ขาด้วยซื้อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใครพีน เห็นสินท่านบ่ใครเดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือก ข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี ในปากประตูมีกระดิ่งอันณื่งแขวนไว ้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้


ด้านที่ ๒

ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพยสี ใสกินดี ... ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูร ได้สามพันสี่ร้อยวา คนในเมืองสุโขทันนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐิน เดือนณื่งจิ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัติกฐินเถืงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียง กันแต่อญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงดํกลองด้วยเสียงพาดเสียงพิณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้ มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ มีดั่งจักแตก กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิสัยมุตก์ มีเถร มีมหาเถร เบื้องตะวันตก เมืองสุโขทัยนี้ มีอไรญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำ โอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์ เรียนจบปิฎกไตรหลวก กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันณื่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐารศอันณื่ง ลุกยืน เบื้องตะวันโอกเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามดังแกส้

ด้านที่ ๓

(งแต่)ง เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎีพิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรดีภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย ๑๒๑๔ ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ชั่งพันขดานหิน ตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับ เดือนโอกแปดวัน วันเดือนเต็ม เดือนบ้างแปดวัน ฝูงปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูดธรรมแก่อุบาสก ฝูงท่วยจำศีล ผิใช่วันสูดธรรม พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขดานหิน ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง ครั้นวันเดือนดับเดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือกกระพัดลยาง เที้ยรย่อมทองงา... (ซ้าย) ขวา ชื่อรูจาครี พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นขี่ไปนบพระ (เถิง) อรัญญิกแล้วเข้ามา จารึกอันณื่ง มีในเมืองชเลียง สถาบกไว้ ด้วยพระศรีรัตนธาตุ จารึกอันณื่ง มีในถ้ำรัตนธาร ในกลวงป่าตาลนี้ มีศาลาสองอัน อันณื่งชื่อศาลาพระมาส อันณื่งชื่อพุทธศานา ขดานหินนี้ ชื่อมนังศิลาบาตร สถาบกไว้นี่ จึ่งทั้งหลายเห็น

ด้านที่ ๔

พ่อขุนพระรามคำแหง ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นขุนในเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ทั้งมากกาวลาว แลไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฎ... ไทยชาวอูชาวของมาออก ๑๒๐๗ ศกปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุออกทั้งหลายเห็น กระทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึ่งเอาลงฝังในกลางเมืองศรีสัชชนาลัยก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระมหาธาตุ สามเข้าจึ่งแล้ว เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหง หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ พ่อขุนรามคำแหงนั้นหา เป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์สั่งสอนไทยทั้งหลายให้รู้บุญรู้ธรรมแท้ แต่คนอันมีในเมืองไทยด้วย รู้ด้วยหลวก ด้วยแกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะ ด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้ อาจปราบฝูงข้าเสีก มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก รอด สรลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา เท้าฝั่งของเถีงเวียงจันทน์เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้(อ)งหัวนอน รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพรชบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง...น หงสาวดี สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองน... เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว ปลูกเลี้ยง ฝูงลูกบ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน

http://www.sukhothai.go.th/history/hist_08.htm

Tuesday, August 18, 2009

Esan Trip ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

การเดินทาง จากจังหวัดนครราชสีมาไปยังอำเภอพิมายทางถนนมิตรภาพ(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ) ประมาณ 12 กม. เมื่อเข้าสู่อำเภอพิมายแล้วจะมีถนนไปสู่ตัวปราสาทอีกประมาณ 4 กม.

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานในนิกายมหายานที่ตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย หรือ วิมายปุระ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอาณาจักรขอม ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกพบในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 (จารึกของพระเจ้าอีศานวรมันเรียก ภีมปุระ) และในพุทธศตวรรษที่ 18 (ในจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรียก วิมายปุระ )

สันนิษฐานว่าปราสาทหินพิมายอาจจะเริ่มสร้างขึ้นเมื่อสมัย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 เพราะได้พบศิลาจารึกที่ปรากฏชื่อของพระองค์ ระบุศักราช 1579 และ 1589 รูปแบบทางศิลปะกรรมของปราสาทส่วนใหญ่เป็นศิลปะเขมรแบบปาบวนต่อนครวัด ซึ่งมีอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 17 และมีการก่อ สร้างเพิ่มเติมอีกในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษที่ 18

ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นทิศที่ตั้งของเมืองหลวงของอาณาจักรขอม แผนผังของปราสาทหินพิมายแบ่งเป็นสัดส่วนได้ 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนในสุด คือ ลานชั้นในล้อมรอบด้วยระเบียงคด มีปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางลาน ปรางค์ประธาน สร้างด้วยหินทรายสีขาว องค์ปรางค์มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อนเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นทรงพุ่ม ด้านหน้าขององค์ปรางค์เชื่อมต่อกับห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า(มณฑป) ที่ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง เสา ฯลฯ มีการแกะสลักงดงาม ที่หน้าบันและทับหลังส่วนใหญ่สลักเป็นภาพเล่าเรื่อง รามายณะ(รามาวตาร) และ กฤษณาวตาร หน้าบันด้านหน้าสลักเป็นภาพศิ-วนาฎราช ส่วนทับหลังของประตูห้องชั้นในภายในองค์ปรางค์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดเป็นภาพทางคติพุทธศาสนานิกายมหายาน

นอกจากปรางค์ประธานแล้วภายในลานชั้นในยังประกอบด้วนอาคารอีก 3 หลังวอยู่ทางด้านหน้าของปรางค์ประธานทางมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง เดิมเรียกกันว่าหอพราหมณ์เพราะเคยขุดพบศิวลึงค์ขนาดย่อมอยู่ภายใน แต่ดูจากลักษณะแผนผังแล้วอาคารหลังนี้น่าจะเป็นบรรณาลัย มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงที่เรียกกันว่า ปรางค์หินแดง อาคารทั้งสองหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นภายหลังปรางค์ประธาน และอาจจะอยู่ในช่วงพุทะศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับปรางค์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่คู่กับปรางค์หินแดงเรียกกันว่า ปรางค์พรหมทัต ปรางค์องค์นี้สร้างด้วยศิลาแลงมีส่วนประกอบบางส่วนเป็นหินทราย ใน ปรางค์พรหมทัตนี้ได้พบประติมากรรมรูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งสมาธิ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระรูปเหมือน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และประติมากรรมสตรีนั่งคุกเข่าสลักด้วยหินทรายเช่นกัน จึงน่าจะเป็นพระนางชัยราชเทวีมเหสีของพระองค์ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครทั้งสองรูป

ถัดออกมาเป็นส่วนที่เรียกว่า ลานชั้นนอกล้อมด้วยกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ลานชั้นนี้ประกอบด้วย อาคารที่เรียกว่าบรรณาลัย 2 หลังตั้งอยู่คู่กันด้านทิศตะวันตก และมีสระน้ำอยู่ที่มุมทั้ง 4 มุมละ 1 สระ เป็นสระที่ขุดขึ้นมาภายหลังคงจะเป็นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

นอกกำแพงชั้นนอกทางด้านหน้าเป็นทางเดินสู่ปราสาทมีสะพานนาคราช และประติมากรรมรูปสิงห์สลักด้วยหินทรายประดับอยู่

ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ปราสาทมีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียกกันว่า ธรรมศาลา ได้พบทับหลังสลักภาพบุคคลทำพิธีมอบม้าแก่พราหมณ์และภาพเทวดาประทับเหนือหน้ากาลที่คายพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง ทับหลังทั้งสองชิ้นนี้มีลักษณะศิลปะแบบที่นิยมกันในราวพุทธศตวรรษที่ 17

ถัดจากกำแพงชั้นนอกของปราสาทออกไป ยังมีกำแพงเมืองล้อมอยู่อีกชั้นหนึ่ง กำแพงเหล่านี้มีซุ้มประตูอยู่ทุกด้านมีหลักฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ปัจจุบันยังมีให้เห็นได้ชัดเจนทางด้านทิศใต้หรือด้านหน้า

จากประตูเมืองด้านหน้าออกไปทางทิศใต้ ที่ริมฝั่งลำน้ำเค็ม มีพลับพลาท่าน้ำสร้างด้วยศิลาแลงร่วมสมัยกันกับกำแพงเมือง เรียกกันว่า ท่านางสระผม

ปราสาทหินพิมาย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อ พ.ศ.2497 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน 2479

นครปฐม (ทวาราวดี)

ศรีทวาราวดีศวรปุณยะ ข้อความจารึกภาษาสันสกฤตที่พบบนเหรียญเงินที่ค้นพบโดยนักโบราณคดี ว่า"พระเจ้าทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ" ซึ่งเป็นจุดเรื่องต้อนของการยืนยันเกี่ยวกับอาณาจักรทวาราวดีอันยิ่งใหญ่

อาณาจักร ทวาราวดีซึ่งเป็นดินแดนพุทธศาสน์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเต็ม ไปด้วยปริศนามากมาย สันนิษฐานว่าอาณาจักรนี้ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำตอนกลางของประเทศไทย ซึ่งศูนย์กลางอาจอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม อู่ทองหรือบริเวณใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ยังขาดหลักฐานที่ระบุศูนย์กลางอาณาจักรที่แน่ชัดได้