Tuesday, August 18, 2009

Esan Trip ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

การเดินทาง จากจังหวัดนครราชสีมาไปยังอำเภอพิมายทางถนนมิตรภาพ(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ) ประมาณ 12 กม. เมื่อเข้าสู่อำเภอพิมายแล้วจะมีถนนไปสู่ตัวปราสาทอีกประมาณ 4 กม.

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานในนิกายมหายานที่ตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย หรือ วิมายปุระ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอาณาจักรขอม ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกพบในประเทศกัมพูชาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 (จารึกของพระเจ้าอีศานวรมันเรียก ภีมปุระ) และในพุทธศตวรรษที่ 18 (ในจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรียก วิมายปุระ )

สันนิษฐานว่าปราสาทหินพิมายอาจจะเริ่มสร้างขึ้นเมื่อสมัย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 เพราะได้พบศิลาจารึกที่ปรากฏชื่อของพระองค์ ระบุศักราช 1579 และ 1589 รูปแบบทางศิลปะกรรมของปราสาทส่วนใหญ่เป็นศิลปะเขมรแบบปาบวนต่อนครวัด ซึ่งมีอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 17 และมีการก่อ สร้างเพิ่มเติมอีกในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษที่ 18

ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นทิศที่ตั้งของเมืองหลวงของอาณาจักรขอม แผนผังของปราสาทหินพิมายแบ่งเป็นสัดส่วนได้ 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนในสุด คือ ลานชั้นในล้อมรอบด้วยระเบียงคด มีปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางลาน ปรางค์ประธาน สร้างด้วยหินทรายสีขาว องค์ปรางค์มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อนเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นทรงพุ่ม ด้านหน้าขององค์ปรางค์เชื่อมต่อกับห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า(มณฑป) ที่ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง เสา ฯลฯ มีการแกะสลักงดงาม ที่หน้าบันและทับหลังส่วนใหญ่สลักเป็นภาพเล่าเรื่อง รามายณะ(รามาวตาร) และ กฤษณาวตาร หน้าบันด้านหน้าสลักเป็นภาพศิ-วนาฎราช ส่วนทับหลังของประตูห้องชั้นในภายในองค์ปรางค์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดเป็นภาพทางคติพุทธศาสนานิกายมหายาน

นอกจากปรางค์ประธานแล้วภายในลานชั้นในยังประกอบด้วนอาคารอีก 3 หลังวอยู่ทางด้านหน้าของปรางค์ประธานทางมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง เดิมเรียกกันว่าหอพราหมณ์เพราะเคยขุดพบศิวลึงค์ขนาดย่อมอยู่ภายใน แต่ดูจากลักษณะแผนผังแล้วอาคารหลังนี้น่าจะเป็นบรรณาลัย มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงที่เรียกกันว่า ปรางค์หินแดง อาคารทั้งสองหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นภายหลังปรางค์ประธาน และอาจจะอยู่ในช่วงพุทะศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับปรางค์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่คู่กับปรางค์หินแดงเรียกกันว่า ปรางค์พรหมทัต ปรางค์องค์นี้สร้างด้วยศิลาแลงมีส่วนประกอบบางส่วนเป็นหินทราย ใน ปรางค์พรหมทัตนี้ได้พบประติมากรรมรูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งสมาธิ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระรูปเหมือน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และประติมากรรมสตรีนั่งคุกเข่าสลักด้วยหินทรายเช่นกัน จึงน่าจะเป็นพระนางชัยราชเทวีมเหสีของพระองค์ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครทั้งสองรูป

ถัดออกมาเป็นส่วนที่เรียกว่า ลานชั้นนอกล้อมด้วยกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ลานชั้นนี้ประกอบด้วย อาคารที่เรียกว่าบรรณาลัย 2 หลังตั้งอยู่คู่กันด้านทิศตะวันตก และมีสระน้ำอยู่ที่มุมทั้ง 4 มุมละ 1 สระ เป็นสระที่ขุดขึ้นมาภายหลังคงจะเป็นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

นอกกำแพงชั้นนอกทางด้านหน้าเป็นทางเดินสู่ปราสาทมีสะพานนาคราช และประติมากรรมรูปสิงห์สลักด้วยหินทรายประดับอยู่

ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ปราสาทมีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียกกันว่า ธรรมศาลา ได้พบทับหลังสลักภาพบุคคลทำพิธีมอบม้าแก่พราหมณ์และภาพเทวดาประทับเหนือหน้ากาลที่คายพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง ทับหลังทั้งสองชิ้นนี้มีลักษณะศิลปะแบบที่นิยมกันในราวพุทธศตวรรษที่ 17

ถัดจากกำแพงชั้นนอกของปราสาทออกไป ยังมีกำแพงเมืองล้อมอยู่อีกชั้นหนึ่ง กำแพงเหล่านี้มีซุ้มประตูอยู่ทุกด้านมีหลักฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ปัจจุบันยังมีให้เห็นได้ชัดเจนทางด้านทิศใต้หรือด้านหน้า

จากประตูเมืองด้านหน้าออกไปทางทิศใต้ ที่ริมฝั่งลำน้ำเค็ม มีพลับพลาท่าน้ำสร้างด้วยศิลาแลงร่วมสมัยกันกับกำแพงเมือง เรียกกันว่า ท่านางสระผม

ปราสาทหินพิมาย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อ พ.ศ.2497 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน 2479

นครปฐม (ทวาราวดี)

ศรีทวาราวดีศวรปุณยะ ข้อความจารึกภาษาสันสกฤตที่พบบนเหรียญเงินที่ค้นพบโดยนักโบราณคดี ว่า"พระเจ้าทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ" ซึ่งเป็นจุดเรื่องต้อนของการยืนยันเกี่ยวกับอาณาจักรทวาราวดีอันยิ่งใหญ่

อาณาจักร ทวาราวดีซึ่งเป็นดินแดนพุทธศาสน์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเต็ม ไปด้วยปริศนามากมาย สันนิษฐานว่าอาณาจักรนี้ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำตอนกลางของประเทศไทย ซึ่งศูนย์กลางอาจอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม อู่ทองหรือบริเวณใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ยังขาดหลักฐานที่ระบุศูนย์กลางอาณาจักรที่แน่ชัดได้

Wednesday, August 12, 2009

ดำเนินสะดวก-กาญจนบุรี-นครปฐม

09.00 เตาตาลหวาน

คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองเข้าด้วยกัน โดยในสมัยโบราณการคมนาคมขนส่งทั่วไป จะเป็นทางบก ใช้สัตว์หรือเกวียน ทางเรือมีใช้บ้างเป็นส่วนน้อย เพราะท้องที่อำเภอดำเนินสะดวกใน สมัยก่อนเป็นที่ไร่ นอกนั้นก็เป็นต้นเสือหมอบและดงไผ่ แต่ก็ไม่ได้ขึ้นเป็นป่าทึบ ที่ดินสูงจากน้ำทะเลเพียงประมาณ 3 ฟุต เรียกกันว่าโคกไผ่ (ตำบลดอนไผ่ในปัจจุบัน) ไม่มีคลองมากมายเหมือนเช่นในปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นของคลองเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2409 ร.ศ.89 ปีขาล อัฐศก ร.ศ.85 จ.ศ.1228 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชดำริ เห็นว่าการคมนาคมที่ไปมาระหว่างพระนครกับสมุทรสาครมีคลองภาษีเจริญที่ทำการสัญจรไปมาได้สะดวกดี แต่ถ้ามีคลองระหว่างกรุงเทพฯ สมุทรสงคราม และราชบุรีก็จะสะดวกขึ้นอีกเป็นอันมาก โดยอาศัยแม่น้ำแม่กลองเป็นสื่อกลาง เมื่อมีคลอง การไปมาหาสู่ทางน้ำก็จะมีความสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่พระสมุหกลาโหม เป็นผู้อำนวยการขุดคลองที่เชื่อมจากแม่น้ำท่าจีนเริ่มจากปากคลองบางยาง ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กับแม่น้ำแม่กลอง ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ควบคุมดูแล และใช้กำลังของทหาร ข้าราชการ ชาวบ้าน รวมถึงชาวจีนที่มาอาศัยอยู่ในเมืองไทยใหม่ๆ ร่วมกันขุด โดยใช้กำลังของคนล้วนๆ กลางคืนจะทำการขุดทั้งคืนเพราะอากาศไม่ร้อน ใช้วิธีขุดดินขึ้นระยะหนึ่งแล้วเว้นไว้ระยะหนึ่ง พอน้ำหลากมาก็เซาะดิน ที่ไม่ได้ขุดพังไป เมื่อขุดคลองสำเร็จแล้ว จึงนำแผนขึ้นทูลเกล้า ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นคลองที่มีเส้นตรง ได้รับความสะดวกในการสัญจร จึงทรงพระราชทานนามคลองที่ขุดใหม่นี้ว่า “ คลองดำเนินสะดวก ” และได้ทำพิธีเปิดใช้คลองนี้เมื่อวันจันทร์ เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำ ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2411

หลังจากนั้นตลิ่งก็ถูกน้ำกัดเซาะ ซึ่งเป็นผลจากคลื่นเรือยนต์ประเภทต่างๆ ทำให้คลองขยายกว้างเป็น 10 วาถึง 20 วา ด้วยขนาดและความยาวของคลอง ประกอบกับเป็นคลองตัดตรงไปยังหลายพื้นที่ ทำให้มีเจ้านายผู้ใหญ่หลายคนมาจับจองที่ดินซึ่งรกร้าง พร้อมขุดคลองซอยแยกจากคลองใหญ่เพื่อเข้าสู่พื้นที่ของตน พื้นที่รกร้างเหล่านั้นจึงกลายเป็นเรือกสวนไร่นา

งบประมาณในการขุดคลองดำเนินสะดวก
งบประมาณในการขุดคลองดำเนินสะดวก ใช้งบประมาณ 1,400 ชั่ง เป็นเงิน 112,000 บาท โดยเป็นทรัพย์สินของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 400 ชั่ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จำนวน 1,000 ชั่ง และเนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วน ใหญ่ รัชกาลที่ 4 จึงทรงอนุญาตให้ท่านและคนในสายสกุลบุนนาคเข้า จับจองที่ดิน 2 ฝั่งคลองเป็นจำนวนมาก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ยังได้สร้างวัดขึ้นแห่งหนึ่งเป็นอนุสรณ์ชื่อว่า วัดปราสาทสิทธิ์ธิดาราม กับปราสาทหลังเล็กๆริมคลอง วัดนี้ถือเป็นวัดแรกริมฝั่งคลองดำเนินสะดวก ปัจจุบันตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางความยาวของคลอง ในเขตตำบลปราสาทสิทธิ์

การคมนาคมขนส่ง

หลังจากที่เปิดใช้คลองดำเนินสะดวกแล้ว คลองก็เต็มไปด้วยเรือนานาชนิดที่สัญจรไปมาไม่เว้นแม้แต่กลางคืน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2กองทัพญี่ปุ่นได้ใช้คลองดำเนินสะดวกเป็นเส้นทางเดินทางไปยังจ.ราชบุรี หลังจากนั้นคลองดำเนินสะดวกเป็นเส้นทางหลักที่สำคัญที่สุดในการสัญจรไปมาของ ชาวบ้านมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งภายหลังมีการตัดถนนใหม่ๆ ย่นระยะทางให้สั้นลง และเข้าถึงทุกที่ ในขณะที่คลองซอย ซึ่งมีมากถึง 200 สาย นั้นเริ่มตื้นเขิน และค่อยๆเลิกใช้ไปทีละสาย ชาวบ้านต่างหันมาใช้ถนนแทน

ประตูน้ำของคลองดำเนินสะดวกมี 2 แห่ง คือประตูน้ำบางยาง ในอ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และประตูน้ำบางนกแขวก ในอ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ทั้ง 2 แห่งกว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร สร้างขึ้นเป็นทางปล่อยเรือเข้าออกคลองซึ่งมีมากมายในสมัยก่อน และยังสามารถกั้นน้ำเค็มที่จะทำลายผลผลิตของชาวบ้านได้อีกด้วย ประตูน้ำทั้ง 2 แห่งได้ถูกทำลายลงในปี พ.ศ. 2488 จากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขัดขวางการเดินเรือของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามประตูน้ำทั้ง 2 แห่งก็ได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่เช่นเดิม

ความยาวและหลักเขต

ความยาวของคลองดำเนินสะดวกนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน เพราะเดิมทีเมื่อเริ่มขุดคลองไม่ได้ขุดจากแม่น้ำท่าจีนไปถึงแม่น้ำแม่กลอง หากแต่มีคลองบางยางแยกจากแม่น้ำท่าจีนลึก เข้าไป 3.8 กิโลเมตร เมื่อขุดจึงขุดจากต้นคลองบางยางไปออกแม่น้ำแม่กลอง มีประตูน้ำกั้นคลองบางยางกับคลองขุดใหม่ ถ้านับตามนี้จะมีความยาว 840 เส้น (32กิโลเมตร) แต่ถ้านับเริ่มตั้งแต่ที่แม่น้ำท่าจีนแล้วจะยาว 895 เส้น (35.8 กิโลเมตร)

ธรรมดาของคลองสมัยโบราณจะมีหลักเขตเพื่อบอกที่อยู่ที่แน่ชัดของผู้คนริม คลอง มีเสาหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 10 x 10 นิ้ว ปักไว้ที่พื้นดิน หลักเขตจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความยาวของคลอง คือ หลักละ 100 เส้น (8 กิโลเมตร) สำหรับคลองดำเนินสะดวกนั้น มีหลักทั้งหมด 8 หลัก

* หลักที่ 1 อยู่ในเขตคลองบางยางเดิม จุดเริ่มต้นจากประตูน้ำบางยาง นับเป็นระยะทางได้ 100 เส้น (4 กิโลเมตร) มีเสาหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 8x8 นิ้ว ปักไว้ที่พื้นดินริมคลองดำเนินสะดวก สูงจากพื้นดินขึ้นไป 1 วา สลักเลข 1 เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกให้ทราบ จากประตูน้ำบางยางซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นคลองดำเนินสะดวกที่อยู่ติดกับแม่น้ำ ท่าจีน จนถึงเสาหินเลขที่ 1 เรียกว่าหลักหนึ่ง อยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร โดยทั่วไปมักเรียกว่า คลองบางยาง
* หลักที่ 2 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 1 ไปอีก 100 เส้น (4 กิโลเมตร) มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 2 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก เรียกว่าหลักสอง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
* หลักที่ 3 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 2 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 3 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 2 ถึงเสาหินเลข 3 เรียกว่าหลักสาม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
* หลักที่ 4 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 3 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 4 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 3 ถึงเสาหินเลข 4 เรียกว่าหลักสี่ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนมากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมักเรียกชุมชนตนเองตามหมายเลข เสาหิน เช่น ชาวหลักสี่ ชื่อโรงเรียนหรือวัด ก็มักจะเรียกตามไปด้วย เช่น โรงเรียนหลักสี่ราษฎร์สโมสร หรือวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ซึ่งมีหลวงพ่อโตที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก
* หลักที่ 5 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 4 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 5 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 4 ถึงเสาหินเลข 5 เรียกว่าหลักห้า ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนมากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมักเรียกตนเองว่า ชาวหลักห้า และมักเรียกชื่อโรงเรียนหรือวัด ตามหลักเขตดังกล่าวไปด้วย เช่น วัดหลักห้า หรือวัดปราสาทสิทธิ์นั่นเอง ซึ่งมีองค์หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ ซึ่งประชาชนทั่วไป ชาวไทย ชาวลาว และชาวจีนที่อาศัยอยู่ในชุมชนและใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก จะมีการแห่องค์หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ทางเรือ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนในคลองดำเนินสะดวกได้สักการบูชาเป็นประจำทุกปี
* หลักที่ 6 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 5 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 6 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 5 ถึงเสาหินเลข 6 เรียกว่าหลักหก ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
* หลักที่ 7 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 6 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 7 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 6 ถึงเสาหินเลข 7 เรียกว่าหลักเจ็ด ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
* หลักที่ 8 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 7 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 8 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 7 ถึงเสาหินเลข 8 เรียกว่าหลักแปด ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
จากเสาหินหมายเลข 8 มีระยะทางของคลองดำเนินสะดวกอีกประมาณ 40 เส้น จึงจะถึงประตูน้ำบางนกแขวกหรือประตูน้ำหลักแปด ซึ่งเป็นประตูน้ำที่เปิดปิดเพื่อเข้าออกสู่แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งอยู่ในเขต ตำบลบางนกแขวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านมักเรียกว่าคลองบางนกแขวก

สมัยก่อนตลาดน้ำจะมีเพียงไม่กี่ครั้งใน 1 เดือน เพราะน้ำจะขึ้นลงตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีตลาดน้ำมากมายหลายแห่งในละแวกเดียวกัน โดยมากจะมีติดๆ กัน เรียกว่า นัด ดังนั้นคลองดำเนินสะดวกจึงเป็นที่ตั้งของตลาดน้ำหลายแห่ง ตลาดน้ำที่เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกคือ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ปากคลองลัดราชบุรี หรือคลองลัดพลี เป็นคลองที่ลัดเข้าตัวจังหวัดราชบุรีได้โดยไม่ต้องผ่านประตูน้ำ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า นัดศาลาห้าห้อง นัดศาลาแดง หรือนัดหลักแปด เพราะเดิมสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ให้ปลูกศาลาเป็นไม้มี 5 ห้อง หลังคามุงกระเบื้องสีแดง เป็นที่พักคนงาน มีผู้คนหนาแน่นกว่าที่อื่นๆ ต่อมากลายเป็นตลาดสำคัญคู่กับนัดปากคลอง ซึ่งมีมาเก่าแก่ก่อนขุดคลองดำเนินสะดวก นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ยังได้เสด็จประพาสต้นตลาดน้ำแห่งนี้อีกด้วย [7]ตลาด น้ำคลองลัดพลีในปัจจุบันได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ อยู่ตรงข้ามกับตาดน้ำคลองต้นเข็ม ซึ่งเป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลก เป็นตลาดที่เกิดขึ้นมาใหม่ นอกจากนั้นก็ยังมีตลาดน้ำคลองโพธิ์หัก ตลาดน้ำบ้านแพ้วและตลาดน้ำเล็กๆแห่งอื่นอีกด้วย

คลองภาษีเจริญ เริ่มต้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ไปเชื่อมแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร รวมความยาว 28 กิโลเมตร โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศาลบุตร) เจ้าภาษีฝิ่นเป็นแม่กองขุด ใช้เงินภาษีฝิ่นพระราชทานเป็นเงิน 112,000 บาท พระราชทานนามว่า “คลองภาษีเจริญ” แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดคลองในปีพ.ศ. 2415 ต่อมาในปีพ.ศ. 2428 - 2429 และ2445 ได้มีการขุดลอกอีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ทำพิธีเปิดคลองเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม มีประตูน้ำ 2 แห่ง สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2450 เสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2452 คือ ประตูน้ำภาษีเจริญตอนนอก อยู่ในเขตภาษีเจริญ และประตูน้ำภาษีเจริญตอนในอยู่ทางด้านแม่น้ำท่าจีน





คลองที่ตัดผ่านถนนพระราม2 ( ธนบุรีปากท่อ)

ที่
ชื่อคลอง
หลัก กม.
ต้นน้ำ
ปลายน้ำ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
42
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
คลองบางขุนเทียน
คลองบางมด
คลองบัว
คลองลำประโดง
คลองวัดกก
คลองสนามชัย
คลองบัวหลวง
คลองพระยาราชมนตรี
คลองรางเข้
คลองลาดลำภู
คลองขุดใหม่
คลองเลนเปน
คลองระหาญ
คลองบางน้ำจืด
คลองคอกกระบือ
คลองเอกชัย
คลองหวายลิง
คลองยายดี
คลองลัดป้อม
คลองบางไผ่เตี้ย
คลองบางไผ่ไหม้
คลองย่านซื่อ
คลองขุด
คลองท่าแร้ง
คลองเกตุม
คลองสุนัขหอน
คลองนาขวาง
คลองนาเกลือ
คลองนิคม 2
คลองแบ่งเขต
คลองลาดใหญ่
คลองบางบ่อ
คลองบางประจัน
คลองลำภา
คลองบางจะเกร็ง
คลองกะซ้า
คลองบางจะเกร็ง 3
คลองตรง
คลองวัดใหม่ฯ
คลองตะเคียน
คลองโคน
คลองขุดดอนจั่น
คลองบ้านแขก
คลองเจ๊ก
คลองขุดกำนันสมบูรณ์
คลองขุดเล็ก
คลองตามล
คลองสะพานหัน
คลองเพชรรัตน์
คลองปู่ขาว
คลองผีหลอก
คลองทะลุแก้ว
คลองแพรกหนามแดง
คลองวันดาว
1+978
2+727
3+347
4+003
4+162
4+992
6+220
6+759
7+624
8+767
10+598
10+957
13+079
17+072
20+384
21+679
24+937
26+068
29
32+854
34+814
38+066
39+333
39+963
42+593
45+960
47+914
51+719
52+557
53+870
57+305
59+124
60+322
63+550
64+218
64+492
64+854
68+012
69+946
71+036
71+823
72+585
73+894
74+975
75+316
76+098
76+379
76+828
77+219
77+807
78+576
79+640
80+521
80+884
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย(สนามชัย)
คลองมหาชัย(สนามชัย)
คลองมหาชัย(สนามชัย)
คลองมหาชัย(สนามชัย)
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวก
แม่น้ำแม่กลอง
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
คลองสหกรณ์
คลองสหกรณ์
คลองสหกรณ์
คลองสหกรณ์
คลองสหกรณ์
แม่น้ำท่าจีน
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย) คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
แม่น้ำท่าจีน
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล

หมายเหตุ
1. คลองเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา - ท่าจีน ได้แก่ คลองภาษีเจริญ, คลองสามการ,
คลองมหาชัย (สนามชัย)
2. คลองเชื่อมแม่น้ำท่าจีน - แม่กลอง ได้แก่ คลองดำเนินสะดวก, คลองสุนัขหอน
3. เขตพื้นที่จังหวัดที่คลองตัดผ่าน กรุงเทพมหานคร (ลำดับที่ 1-13)
สมุทรสาคร (14-30), สมุทรสงคราม (31-51), ราชบุรี (52-54)
4. เขตทางน้ำชลประทาน คลองขุดใหม่ (11), คลองบางน้ำจืด (14)
คลองคอกกระบือ (15), คลองท่าแร้ง (24)

Friday, August 7, 2009

กว่าจะได้ชื่อ เอราวัณ

ช้างเอราวัณ : ช้างทรงของพระอินทร์มีชื่อช้างว่าเอราวัณ ซึ่งก็คือ เทวบุตรซึ่งมีชื่อว่าเอราวัณ ซึ่งแปลงการเพราะในสวรรค์ไม่มีสัตว์ (เลยแปลงมาเป็นช้าง) ช้างเอราวัณมีตัวสูงถึงหนึ่งล้านสองแสนวา มีหัวถึงสามสิบสามหัว หัวที่อยู่ตรงกลางมีขนาดใหญ่ และมีชื่อว่าสุทัสน์ เป็นที่ประทับของพระอินทร์ เหนือหัวช้างหัวนี้ขึ้นไป มีแท่นแก้วใหญ่ และมีประสาทกั้นอยู่ตรงกลาง มีธงแก้วเรียงรายอยู่รอบ เมื่อแก่วงไปมาจะมีเสียงไพเราะยิ่งนัก พระอินทร์จะประทับอยู่เหนือแท่นแก้วบนหัวช้างนี้ ส่วนหัวช้างอีกสามสิบสองหัว จะมีเทวบุตร (คือเทพบุตรนั่นเอง) ซึ่งเป็นบริวารอีกสามสิบสององค์ ประทับอยู่

ลักษณะของหัวช้างสามสิบสามหัว มีเครื่องประกอบดังนี้ แต่ละหัวมีงาเจ็ดกิ่ง งาแต่ละกิ่งมีสระเจ็ดสระ สระแต่ละสระมีกอบัวเจ็ดกอ แต่ละกอมีดอกได้เจ็ดดอก แต่ละดอกมีกลีบเจ็ดกลีบ แต่ละกลีบมีนางฟ้าร่ายรำอยู่เจ็ดคน แต่ละนางนี้มีบริวารเจ็ดคน สรุปความแล้วช้างสามสิบสามหัวมีงาสองร้อยสามสิบเอ็ดงา สระหนึ่งพันหกร้อยสิบเจ็ดสระ กอบัวในสระได้หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสามร้อยสิบเก้ากอ ดอกบัวได้เจ็ดหมื่นเก้าพันสองร้อยสามสิบสามดอก กลีบดอกบัวได้ห้าแสนห้าหมื่นสี่พันหกร้อยสามสิบเอ็ดกลีบ นางฟ้าสามล้านแปดแสนแปดหมื่นสองพันสี่ร้อยสิบเจ็ดนาง บริวารได้ยี่สิบเจ็ดล้านหนึ่งแสนเจ็ดหมื่นหกพันเก้าร้อยสิบเก้าคน

ผู้นั่งแวดล้อมทางซ้ายของพระอินทร์คือนางสุธรรมา ซึ่งเป็นมเหสีคนหนึ่ง พร้อมด้วยบริวารเป็นจำนวนมาก ทางขวาคือนางสุชาดา และบริวาร นางสุนันทาอยู่ด้านหลัง ส่วนนางสุจิตราอยู่ทางซ้าย (สรุปแล้วคือสุธรรมา สุชาดา สุนันทา สุจิตราคือบริวารหรือมเหสีของพระอินทร์)

ถัดจากนั้นไปมีนางฟ้าจำนวนมาแวดล้อมเป็นขั้น ๆ ไปบางคนถือกันลออมแก้ว (บางคนถือ) เครื่องสูงบ้าง (ยังมี) เทพธิดาที่มาเล่นดนตรีและฟ้อนรำถวายพระอินทร์เป็นจำนวนมาก และมีชื่อดังนี้ คิคครา สุภัทรา หสัจจนารี มณีเมขลา

Thursday, August 6, 2009

ปราสาทหินพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู(พราหมณ์) ไศวนิกาย นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระศิวะหรือพระอิศวรทรงมีตาที่สามอยู่ที่พระนลาฏ(หน้าผาก) เป็นเทพผู้ทำลายและสร้างโลกซึ่งความเป็นไปของโลกควบคุมผ่านการฟ้อนรำของพะองค์ หากรำด้วยในจังหวะที่เหมาะสมโลกจะสงบสุข และจังหวะรุนแรง กริ้วกราดโลกจะเข้าสู่กาลวิบัติ ฉะนั้นศาสนิกชนจึงบูชาและอ้อนวอนให้พระองค์ทรงพอพระทัย ในภาพสลักบนหน้าบันเรียกว่า พระศิวนาฏราช เป็นเหตุการณ์ที่พระศิวะทรงฟ้อนรำบนเขาไกรลาสหรือเขาพระสุเมรุ โดยมีเทพเขาชมและบรรเลงเพลงได้แก่ พระวิษณุ พระพรหม พระพิฆเนศ(บุตรพระศิวะ) เป็นต้น


อีกนิกายหนึ่งของศาสนาฮินดู คือ ไวษณพนิกาย นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นเทพสูงสุด ดังเช่นนครวัด พระนารายณ์ มี 4 กร ปกติถือจักร สังข์ คทาและดอกบัว เป็นเทพผู้คุ้มครองโลก พระองค์อวตารลงมาช่วยโลกมนุษย์ 10 ครั้ง สำหรับภาพทับหลัง ชื่อว่า นารายณ์บรรทมสินธุ์ หรือ วิษณุอนันตศายินปัทมนาภิน (ราวพ.ศ.2504-08 ถูกลักไปและกรมศิลปากรพร้อมคนไทยหลายคนได้ทวงคืนสำเร็จเมื่อ 10 พ.ย.2531 ) ในภาพสลักแสดงอิริยาบถขณะพระนารายณ์กำลังบรรทมเหนือพญานาคราชซ้อนทับมังกรอยู่ในเกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนม โดยมีพระพรหม(4 พักตร์ 4 กร)ประทับอยู่เหนือดอกบัวที่ผุดขึ้นมาจากพระนาภีหรือสะดือ ซึ่งแสดงถึงเหตุการณ์ที่โลกพังทลายจมลงใต้สมุทร(โดยพระศิวะ) และพระนารายณ์เข้าบรรทมในมหาสมุทรบังเกิดดอกบัวงอกขึ้นมาโดยมีพระพรหมเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งบนโลกกัลป์ใหม่ และพระนารายณ์จะอวตารลงไปช่วยมนุษย์ต่อไป ภาพดังกล่าวสอดคล้องกับภาพพระศิวนาฏราช สื่อให้เห็นวัฎจักร การเกิด การดับ การควบคุมการเป็นไปของโลก โดยเทพเจ้าทั้งสาม "พระพรหมสร้าง พระนารายณ์รักษา พระศิวะทำลาย"

การเข้าสักการะต้องผ่านทางดำเนินที่ปูด้วยศิลาแลงระยะทางรวม 160 เมตร ทั้งสองข้างทางประดับด้วยเสานางเรียงหรือเสานางจรัล ที่มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ก่อนขึ้นบันไดชันจำนวน 52 ขั้น(เท่ากับจำนวนสัปดาห์ใน 1 ปี) จะพบสะพานนาคราช สร้างตามความเชื่อที่ว่านาคเป็นผู้ให้น้ำและสร้างรุ้งซึ่งใช้เป็นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์

ศิวลึงค์ใช้เป็นรูปเคารพแทนองค์พระศิวะ รูปทรงเลียนแบบเครื่องเพศชายตั้งประกอบกันกับแท่นฐานโยนิโทรณะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนสตรีเพศอีกทั้งยังเป็นรูปเคารพนางอุมาเทวี(ชายาพระศิวะ) สองสิ่งเมื่ออยู่ร่วมกันถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์ จักรวาลเกิดความสมดุล
ศิวลึงค์ประดิษฐานอยู่กึ่งกลางห้องครรภคฤหะหรือปราสาทประธาน(เปรียบเสมือนพระศิวะประทับอยู่ที่แกนกลางจักรวาลหรือยอดเขาไกรลาส) ครรภคฤหะมีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส แสงเข้าได้น้อย ผนังห้องหนาหนักเงียบสงบ ภายในห้องเต็มไปด้วยระเบียบอันมั่นคง เปรียบเสมือนถ้ำที่ใช้นั่งสมาธิบำเพ็ญพรต

การเซ่นบวงสรวงพระศิวะ พราหมณ์จะเป็นผู้ทำพิธีโดยรดน้ำหรือของเหลวลงบนศิวลึงค์โดยไหลผ่านลงร่อง โยนีและไหลไปตามท่อโสมสูตรกลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ให้ศาสนิกชนรองรับไป อุปโภคบริโภคเพื่อเป็นศิริมงคลและรักษาโรคภัยไข้เจ็บหรือผลผลิตทางการเกษตร งอกเงยอุดมสมบูรณ์ นอกจากน้ำหรือของเหลวที่ใช้บวงสรวงยังมี ข้าว เครื่องเทศ หมู แพะ วัว งา ถั่ว เกลือ

ภาพสลักลายดอกบัว 8 กลีบสื่อถึงเทพประจำทิศทั้งแปดซึ่งมีหน้าที่พิทักษ์รักษาตามทิศต่าง ๆ รอบจักรวาล แสดงถึงขอบเขตจักรวาล เทพดังกล่าวได้แก่ พระอินทร์ทรงช้าง/ทิศตะวันออก พระวรุณทรงหงส์/ทิศตะวันตก ท้าวกุเวรทรงสิงห์/ทิศเหนือ พระขันทกุมาร(บุตรพระศิวะ)ทรงนกยูง/ทิศใต้ พระจันทร์ทรงรถเทียมม้าหรือพระอีสานทรงโค/ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พระอัคนีทรงระมาด(แรด)/ทิศตะวันออกเฉียงใต้ พระพายทรงม้า/ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พระนิรฤติทรงรากษส/ทิศตะวันตกเฉียงใต้ พระพรหมทรงหงส์/ทิศเบื้องบน พระยมทรงกระบือ/ทิศเบื้องล่าง

สิงห์ เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ผู้มีอำนาจและปกปักทางขึ้นเขาพระสุเมรุ เช่นเดียวกับหงส์และครุฑ สำหรับผู้พิทักษ์รักษาประตูทางเข้าห้องครรภคฤหะ เรียกว่า ทวารบาล

นอกจากนับถือศิวลึงค์แล้วศาสนิกชนยังนับถือ โคนนทิ พาหนะของพระศิวะ เป็นโคศักดิ์สิทธิ์ผู้ให้น้ำนมแก่มนุษย์
ภาพสลักเล่าเรื่องอวตารที่ 7 ของพระนารายณ์ (ปลา เต่า หมูป่า นรสิงห์ คนแคระ ปรศุราม พระราม พระพุทธเจ้า พระกฤษณะ และกัลกี) ตอนพระรามและพระลักษมณ์ถูกศรนาคบาศรัด ตามอุบายของทศกัณฐ์
ระเบียงคดเป็นอาคารยาวมุงหลังคาสร้างล้อมปราสาทประธานไม่สามารถเดินทะลุถึงกัน แต่แบ่งเป็นห้อง ๆ ใช้ทำพิธีกรรมและเก็บสิ่งของสำคัญ โดยหินทรายสีชมพู(มีแร่ควอร์ทซ์มาก)ที่ใช้สร้างระเบียงคดและปราสาทนี้อาจถูกนำมาจากเขากลอย อ.บ้านกรวด อยู่ห่างราว 20 กิโลเมตร ขนย้ายโดยฝังหมุดเหล็กแล้วใช้เชือกมัดและลากมา
ปราสาทพนมรุ้งถูกวางผังให้หันไปทางทิศตะวันออกโดยมีประตูต่าง ๆ วางตำแหน่งให้ตรงกัน เพื่อให้แสงอาทิตย์สาดส่องมากระทบศิวลึงค์เป็นการเพิ่มพลังให้แก่ศิวลึงค์ นักวิชาการคาดว่าช่างโบราณต้องการให้ปราสาทหันไปทางทิศตะวันออกพอดีเพื่อให้เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกผ่าน 15 ประตูภายในวันเดียวกันแต่มีข้อผิดพลาดบางอย่างทำให้ปราสาทเบี่ยงไปทางเหนือ 5.5 องศา ทำให้ใน 1 ปีดวงอาทิตย์ลอดช่องประตูทั้ง 15 ช่องจำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ พระอาทิตย์ขึ้น 2 ครั้ง ราวเดือนเมษายนและกันยายน พระอาทิตย์ตก 2 ครั้งราวเดือนมีนาคมและตุลาคม


เดี๋ยวถ้าว่างๆจะมาใส่ข้อมูลให้แน่นเลย

Wednesday, August 5, 2009

เจดีย์

เจดีย์ (ภาษาบาลี : เจติย , ภาษาสันสกฤต : ไจติยะ) หรือ สถูป (ภาษาบาลี : ถูป , ภาษาสันสกฤต : สฺตูป) เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา พบได้ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชีย

เจดีย์ หมายถึงสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง สถูป หมายถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้เคารพนับถือได้สักการบูชา ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชน อยู่เพียง 4 พวก เรียกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์

สำหรับประเทศไทย คำว่า สถูป และ เจดีย์ เรามักรวมเรียกว่า “สถูปเจดีย์” หรือ “เจดีย์” มีความหมายเฉพาะ ถึงสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ในสมัยหลังลงมาคงมีการสร้างสถานที่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุ และเพื่อเคารพบูชาระลึกถึงพร้อมกันไปด้วย

ประวัติ
คำว่า เจดีย์ นั้นเปลี่ยนพจน์ด้วยการลงวิภัตติปัจจัยมาจากคำว่า จิต (ภาษาบาลี : จิตฺต , ภาษาสันสกฤต : จิตฺร) หมายถึง จิตใจหรืออนุสรณ์เตือนใจ โดยคำว่า “เจติยะ” (เขียนในรูปภาษาบาลี) หรือ “ไจติยะ” (เขียนในรูปภาษาสันสกฤต) ส่วนคำว่า สฺตูป นั้นมาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง เนินดิน (ภาษาบาลีใช้คำว่า “ถูป” แปลว่ามูลดิน (เนินดิน) เช่นกัน) แต่ในบางประเทศใช้ศัพท์แตกต่างกันไป เช่น ในศรีลังกา เรียกว่า "ทโคพ" ("ธาตุครรภ" สมาสจากคำว่า ธาตุ (กระดูก, เถ้ากระดูก) + ครฺภ (ห้อง , ท้อง , ที่เก็บ : ป. คพฺภ) ในภาษาสันสกฤต เขียนสลับเป็นว่า "ครรภธาตุ" ก็ได้) หรือ "โตเป" ในภาษาฮินดี มาจากคำว่า สฺตูป ในภาษาสันสกฤตนั่นเอง

สถูปของอินเดียสมัยโบราณ เดิมเป็นการพูนดินขึ้นเป็นโคกตรงที่ฝังอัฐิธาตุ แล้วลงเขื่อนรอบกันดินพัง มีการปักร่มหรือฉัตรไว้บนโคกเพื่อเป็นเกียรติยศ ต่อมามีการเติมแต่งสถูปให้งดงามและถาวรยิ่งขึ้น เช่นสร้างฐาน ลานทักษิณ มีบัลลังค์หรือแท่นฐานเหนือองค์สถูป ตกแต่งยอดสถูปเป็นรูปฉัตร และประดับประดาลวดลายต่างๆ ต่อมาเมื่อสังคมพัฒนาขึ้น เจดีย์ก็พัฒนาตาม บุคคลที่มีบรรดาศักดิ์สูง กองดินจะพูนสูงขึ้น และเปลี่ยนวัสดุจากดิน เป็น อิฐ หิน ศิลาแลง ปูน อันแล้วแต่จะหาได้ในพื้นที่ ซึ่งลักษณะสถูปแบบนี้ ได้ส่งอิทธิพลมายังดินแดนอาณาจักรโบราณในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งดินแดนประเทศไทย เมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาเป็นที่นับถือของประชาชน

ประเภทของเจดีย์ หรือพุทธเจดีย์

พุทธเจดีย์ คือ สิ่งซึ่งสร้างขึ้นด้วยเจตนาเพื่อระลึกถึงและอุทิศต่อพระพุทธเจ้า และพระรัตนตรัย

พุทธเจดีย์ มิได้เจาะจงเฉพาะแต่ เจดีย์ ที่เป็นถาวรวัตถุ สิ่งก่อสร้างเท่านั้น แต่รวมถึง พระพุทธรูป พระไตรปิฎก สังเวชนียสถาน ด้วย

ในตำราพระพุทธศาสนากำหนดว่าเจดีย์ มีด้วยกัน 4 ประเภท คือ

1. ธาตุเจดีย์ หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ของพระมหากษัตริย์จักรพรรดิ
2. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใช้ เป็นที่ระลึกถึงพระองค์เมื่อเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้แก่ สังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือสวนลุมพินีวันที่ประสูติ อุรุเวลาเสนานิคม(พุทธคยา) ที่ตรัสรู้ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน(สารนาถ) ที่แสดงปฐมเทศนา และสาลวโนทยาน เมืองกุสินาราที่ปรินิพพาน ต่อมาได้เพิ่มที่แสดงปาฏิหาริย์อีก 4 แห่ง คือเมืองสังกัสที่เสด็จลงจากดาวดึงส์ เมืองสาวัตตถีที่ทำยมกปาฏิหาริย์ เมืองราชคฤห์ที่ทรมาณช้างนาฬาคิรี และเมืองเวสาลีที่ทรมาณพญาวานร
3. ธรรมเจดีย์ หมายถึงพระธรรม คัมภีร์ในพุทธศาสนา เป็นสิ่งแทนองค์พระพุทธเจ้า ต่อมาเขียนลงเป็นตัวอักษรประดิษฐานไว้เพื่อบูชา
4. อุเทสิกเจดีย์ หมายถึง สถานที่หรือสิ่งของที่สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศต่อพระพุทธเจ้า ไม่กำหนดว่าจะต้องทำเป็นอย่างไร เช่น พระพิมพ์ พระพุทธรูป ธรรมจักร บัลลังก์ เจดีย์ เป็นต้น

ลักษณะของเจดีย์

เจดีย์ทรงโอคว่ำ
เจดีย์ทรงโอคว่ำ หรือเจดีย์แบบสาญจี เป็นเจดีย์รูปแบบแรก ๆ ของพุทธศาสนา มีองค์ประกอบพื้นฐานครบถ้วน คือ

1. ฐาน (บางแห่งอาจไม่มี) เพื่อยกระดับว่า เจดีย์นี้สูงศักดิ์กว่าหลุมศพธรรมดา
2. เรือนธาตุ บางแห่งทึบตัน บางแห่งกลวงเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป รูปเคารพ หรือบรรจุสิ่งของ
3. บัลลังก์ แสดงถึงวรรณะกษัตริย์ (พระพุทธเจ้าเกิดในวรรณะกษัตริย์)
4. ฉัตร (บางแห่งอาจไม่มี) เป็นเครื่องประดับบารมี







เจดีย์ทรงลังกา แบบสุโขทัย
เมื่อพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ได้เข้ามาประดิษฐานในกรุงสุโขทัย จึงได้มีการสร้างเจดีย์ตามวัฒนธรรมพระพุทธศาสนา แต่ได้มีการประดับตกแต่ง ตามแบบของสุโขทัย โดยยังมีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน และมีองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา

1. ฐานเขียง ฐานชั้นล่างสุด ยกพื้นเจดีย์ให้สูงกว่าพื้นดิน
2. ฐานปัทม์ หรือฐานบัว (ปทุม) แสดงถึงดอกบัวที่รองรับพระพุทธเจ้าในทุกอิริยาบทของพระพุทธองค์
3. บัวถลา เป็นลักษณะที่รับมาจากลังกาแต่เอาชั้นบัวหงายออก
4. บัวปากระฆัง เป็นฐานบัวชั้นบน
5. องค์ระฆัง หรือ เรือนธาตุ บรรจุพระพุทธรูป หรือพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระบรมอัฐิ และพระอัฐิ
6. บัลลังก์ คงความหมายเดิม
7. ก้านฉัตร เป็นก้านของฉัตร (ตามความหมายเดิม)
8. บัวฝาละมี บัวคว่ำด้านบน กางกั้นฉัตรให้เรือนธาตุ
9. ปล้องไฉน เปรียบเสมือนตัวฉัตร (ตามความหมายเดิม)
10. ปลียอด ชี้ขึ้นฟ้า เส้นทางสู่พระนิพพาน
11. หยาดน้ำค้าง หมายถึงรัตนะ

เจดีย์ทรงลังกา แบบอยุธยา
ในสมัยอยุธยา พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น เจดีย์เองก็มีการพัฒนาการขึ้น และมีองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา รวมถึงเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่างให้เข้ากับวัฒนธรรม โดยรวมมีความหมายเดิม ยกเว้น
เสาหาน สร้างล้อมรอบ ก้านฉัตร แทนของเดิมที่ใช้ผ้าหรือโลหะฉลุ ซึ่งกางกั้นลงมาจากบัวฝาละมี

พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร

พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชนิดพิเศษ ที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาขึ้น เพื่อเป็นวัดประจำพระนคร หรือประจำพระองค์พระมหากษัตริย์

ในประเทศไทยปัจจุบัน พระอารามหลวงชนิดนี้ มีจำนวน 6 วัด ได้แก่

* วัดในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร)
o วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
o วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
o วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
o วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
* วัดในส่วนภูมิภาค
o วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี
o วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม

พระอารามหลวง

พระอารามหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงสร้าง หรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ และขอพระราชทานให้ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง

ประวัติ
แต่เดิมนั้นยังไม่มีการจัดแบ่งพระอารามหลวงอย่างเป็นทางการ เพียงแต่มีการจัดแบ่งพระอารามหลวงออกเป็นหลายชั้นตามความรู้สึกหรืออาศัยการ คาดเดาตามสถานการณ์ เช่น ดูจากการพระราชทานเทียนพรรษาขี้ผึ้งหรือไม้เล่มเดียวหรือมากกว่านั้น หรือดูจากการบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานแก่เจ้าพนักงานผู้คุมเลขค่าพระ เป็นต้น หลังจากนั้น กระทรวงธรรมการร่วมกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ จัดระเบียบพระอารามหลวงเพื่อประมาณค่าบำรุงวัดหลักจากเลิกเลขวัด แต่ไม่ได้นำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดระเบียบพระอารามหลวง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการจัดระเบียบพระอารามหลวงขึ้นอย่างเป็นระบบตั้งแต่นั้นมา

โดยในครั้งนั้น วัดที่จัดว่าเป็นพระอารามหลวงนั้น คือ วัดอันสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้าง ทรงปฏิสังขรณ์เป็นส่วนพระองค์หรือทรงในนามท่านผู้อื่น และอารามอันพระบรมวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่สร้างปฏิสังขรณ์ทรง รับไว้ในความบำรุงของแผ่นดิน[1] ภายหลังจึงหมายรวมถึงวัดราษฎร์ที่ที่ประชาชนสร้างหรือปฏิสังขรณ์ แล้วทรงพิจารณาเห็นสมควรยกย่องเป็นพิเศษก็ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง

การแบ่งพระอารามหลวง

พระอารามหลวง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่

1. พระอารามหลวงชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี 3 ระดับ คือ
* ชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร
* ชนิดราชวรวิหาร
* ชนิดวรมหาวิหาร
2. พระอารามหลวงชั้นโท ได้แก่ วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ มี 4 ระดับ คือ
* ชนิดราชวรมหาวิหาร
* ชนิดราชวรวิหาร
* ชนิดวรมหาวิหาร
* ชนิดวรวิหาร
3. พระอารามหลวงชั้นตรี ได้แก่ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง มี 3 ระดับ คือ
* ชนิดราชวรวิหาร
* ชนิดวรวิหาร
* ชนิดสามัญ (ไม่มีสร้อยนามต่อท้าย)

พระปรางค์

พระปรางค์ หรือ ปรางค์ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย เป็นหลักประธานในวัดเช่นเดียวกับพระเจดีย์ แต่เดิมถือว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของขอม โดยมีคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ เขาพระสุเมรุ

ลักษณะและรูปทรงของพระปรางค์

พระปรางค์ในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากศิลปะสถาปัตยกรรมขอม มีลักษณะจำแนกเป็น 4 แบบ คือ

  1. ทรงศิขร เป็นปรางค์รูปแบบดั้งเดิม สร้างขึ้นตามแบบแผนเดิมของขอม เน้นคติความเชื่อว่าเป็นการ จำลองภูเขา และ สวรรค์ชั้นฟ้า ตัวอย่างได้แก่ ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์ เป็นต้น
  2. ทรงงาเนียม มีลักษณะคล้ายงาช้าง ลักษระใหญ่แต่สั้น ตอนปลายโค้งและค่อนข้างเรียวแหลม ถือเป็นประดิษฐกรรมของช่างไทย โดยมีการพัฒนาจากรูปแบบเดิมจนมีลักษณะเฉพาะของตนเองในสมัยอยุธยาตอนต้น ตัวอย่างได้แก่ ปรางค์เหนือปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตศาสดาราม กรุงเทพฯ พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุเมืองเชลียง สุโขทัย เป็นต้น
  3. ทรงฝักข้าวโพด มีลักษณะ ผอมบางและตรงยาวคล้ายฝักข้าวโพด ส่วนยอดนั้นจะค่อยๆเรียวเล็กลง ก่อนรวบเป็นเส้นโค้งที่ปลาย เป็นลักษณะเฉพาะของพระปรางค์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตัวอย่างเช่น วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ เป็นต้น
  4. ทรงจอมแห มีลักษณะคล้ายแหที่ถูกยกขึ้น ตัวอย่างได้แก่ วัดอรุณราชวราราม ธนบุรี

ปรางค์อาจถือเป็นรูปแบบหนึ่งของเจดีย์ เช่นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (เจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูม) ของสมัยสุโขทัย เช่นเจดีย์ทรงระฆัง ของสมัยสุโขทัยก็มี ของสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือสมัยรัตนโกสินทร์ก็มี

องค์ประกอบของพระปรางค์


พระปรางค์

  1. นภศูล คือส่วนยอดปลายสุดของพระปรางค์ ทำด้วยโลหะหล่อเป็นรูป 4 แฉกคล้ายปลายดาบ ต่อซ้อนกัน 2-3 ชั้น ระหว่างกลางแทรกด้วยแกนยอดแหลมคล้ายปลายหอก
  2. บัวกลุ่ม คือส่วนของอาคารที่อยู่บนยอดสุดของพระปรางค์ ทำเป็นรูปกลีบบัวแย้ม ตั้งรับนภศูล
  3. ชั้นรัดประคด คือส่วนชั้นของยอดพระปรางค์ที่มีลักษณะโค้งเข้า คล้ายรูปเอวพระภิกษุที่คอดเข้าอันเนื่องมาจากการนุ่งสบงที่รัดด้วยสายรัด ประคด
  4. กลีบขนุน คือส่วนตกแต่งที่ประดับแทรกเข้าไปใต้ ชั้นรัดประคด ตรงตำแหน่งมุมที่ย่อของแต่ละชั้น
  5. บัณแถลง คือส่วนตกแต่งที่ทำเป็นรูปหน้าจั่วอาคารขนาดเล็ก ประดับอยู่ระหว่างกลางของกลีบขนุน คู่ในของ ชั้นรัดประคด แต่ละชั้นของพระปรางค์
  6. ชั้นอัสดง คือส่วนของเรือนยอดพระปรางค์ส่วนที่ตั้งอยู่เหนือเรือนธาตุ
  7. เรือนธาตุ คือส่วนที่เป็นตัวเรือนประธานของพระปรางค์ ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือพระสถูป ที่ใช้บรรจุพระบรมธาตุ
  8. ซุ้มจระนำ หรือ ซุ้มคูหา หรือ ซุ้มทิศ หรือ ซุ้มประตู คือส่วนที่ทำขึ้นประกอบเข้ากับองค์พระปรางค์หรือพระเจดีย์บริเวณภายนอกอาคาร ส่วนที่เป็นเรือนธาตุ เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มี 4 ด้าน เรียกว่า ซุ้มทิศ ถ้าพระปรางค์นั้นกลวงมีทางเข้าออก จะเรียกและทำหน้าที่เป็น ซุ้มประตู
  9. ชุดฐานสิงห์ คือส่วนที่ทำเป็นฐานสิงห์ 3 ชั้น เทินเหนือ “ฐานปัทม์” เพื่อรับองค์ “เรือนธาตุ”
  10. ฐานปัทม์ คือส่วนที่เป็นฐานอาคาร ใช้ตั้งรับองค์เรือนธาตุอาคาร
  11. ฐานเขียง คือส่วนของโครงสร้างที่เป็นฐานชั้นล่างสุด

ในสมัยสุโขทัยไม่มีพระปรางค์ จำไว้เผื่อมีใครมาลองเชิงความรู้