Tuesday, June 29, 2010

ประวัติหมอชีวกโกมารภัจจ์

ในสมัยพุทธกาล สำนักตักศิลา เป็นที่โด่งดังมาก การเรียนการสอนก็เป็นเเบบตัวต่อตัว ไม่เป็นระบบชั่วโมงบรรยาย เหมือนมหาวิทยาลัยนาลันทะในยุคต่อมา ศิษย์จะต้องเข้าหาอาจารย์เอง อาจารย์ส่วนมากเป็นฤาษี สถานที่เรียนก็เป็นกุฏิของครูอาจารย์ พักอาศัยตามบ้านของครอบครัวในนิคม สำหรับสถานที่ตั้งของตักศิลาในสมันนั้นจะอยู่ในอินเดียหรือไม่ ยังไม่เเน่ชัด เพราะการเดินทางจากเเคว้นมคธ ไปยังตักศิลาในสมันนั้นต้องเดินทางนาน ถึง 3 เดือน ถ้าเทียบระยะเวลาการเดินทางของกองเกวียนเหล่าวานิชที่เดินทางค้าขายกันเป็น ประจำ ระยะ 3 เดือน สามารถเดินทางได้ถึงเขตของไทย หรือถ้าไปด้านเหนือก็เข้าเขตเชียงตุง
ชีวกโกมารภัจจ์เเพทย์ เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าชายอภัย พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร เเห่งเเคว้นมคธ เดินทางไปศึกษาที่สำนักตักศิลา โดยอาศัยไปกับกองเกวียนของพวกพ่อค้าเข้าเรียนวิชาเเพทย์กับสำนักทิศาปาโมกข์ ปรกติการศึกษาวิชาเเพทย์จะต้องใช้เวลาถึง 16 ปี เเต่ชีวกโกมารภัจจ์เเพทย์ เรียนอยู่เพียง 7 ปีก็สำเร็จ อาาจรย์ของท่านทำการทดสอบภูมิความรู้ของท่านโดยให้ท่านไปหาสิ่งที่ไม่เป็นยา ในบริเวณโดยรอบตักศิลามาให้ ปรากฏว่าท่านกลับมาพบอาจารย์ด้วยมือเปล่า เเจ้งเเก่อาจารย์ของ ท่านว่า ไม่พบสิ่งใดเลย ที่ไม่สามารถใช้ทำยาได้ พวกเพื่อนๆของท่านพากันหัวเราะเยาะ เเต่อาจารย์ของท่านกลับบอกว่า ท่านได้สำเร็จวิชาการเเพทย์เเล้ว ท่านเป็นผู้ที่มีความฉลาด จิตใจโอบอ้อมอารี มีเมตตา อาจารย์จึงประสาทให้เป็นผู้สำเร็จวิชา เเละเเนะนำให้ไปบริการรักษาโรคที่เมืองสาเกต เมืองหลวงของเเคว้นอโยธยา ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ไกล้ๆกับตักศิลา เพื่อเป็นการเผยเเพร่ชื่อเสียง เพราะที่เมืองสาเกต มีเเพทย์เก่งๆอยู่มาก ท่านได้ทำการรักษาโรคให้เเก่ผู้คนในเมืองสาเกต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้รักษาชีวิตของมารดาเเละทารกให้รอดจากความตายเป็นจำนวนมากเป็นที่นับถือ จนได้รับนาม ต่อท้ายชื่อว่า โกมารภัจจ์ เเปลว่า หมอผู้ชำนาญโรคเด็ก ความรู้ความสามารถด้านอื่นๆ รวมถึงการผ่าตัดต่างๆ ก็เป็นที่เลื่องลือเช่นกัน ต่อมาจึงได้เดินทางกลับกรุงราชคฤห์ รักษาพระเจ้าพิมพิสารให้หายอาการประชวรจากโรคริดสีดวงทวารเรื้อรังด้วยการ ทายาเพียงครั้งเดียว เเละรักษาโรคให้ผู้คนีกมากมาย จนได้รับเเต่งตั้งเป็นเเพทย์หลวงประจำพระองค์พระเจ้าพิมพิสาร ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารทรงถวายให้เป็นเเพทย์ประจำองค์ของพระพุทธเจ้า เเละได้ดูเเลรักษาอุปฐากพระภิกษุอีกมากมาย
เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระประชวร ปู่ชีวกโกมารภัจจ์ได้ปรุงยาขนานพิเศษขึ้นเพื่อจะถวายพระพุทธองค์ โดยให้ยาเพียงครั้งเดียวก็จะหายเเต่พระพุทธองค์ไม่รับโอสถนั้นทำให้ปู่ชีวก โกมารภัจจ์ เสียใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงปลงสังขารผ่านไปได้ 3 เดือน ปู่ชีวกโกมารภัจจ์จึงได้หนีไปจำศีลอยู่ในถ้ำ ในระหว่างจำศีลอยู่ในถ้ำนั้น ท่านได้รจนาพระคัมภีร์การเเพทย์ต่างๆ ไว้มากมาย เป็นตำราที่เราใช้สืบต่อกันมานานจนถึงปัจจุบันอันเกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก ต่ออนุชนรุ่นหลัง

Friday, June 25, 2010

จากตักศิลา ถึงนาลันทา(ต่อ)

ภาพที่ปรากฎในสมัยปัจจุบันด้านสถาปัตยกรรม และประติมากรรม

ศาสตราจารย์พิเศษเสฐียร พันธรังษี นักศาสนา นักหนังสือพิมพ์ และบูรพาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้บันทึกการจาริกแสวงบุญ ณ มหาวิทยาลัยนาลันทาเมื่อฤดูร้อน พ.ศ. ๒๔๙๖ ตามคำอธิบายของท่านกัสสปเถระ (กัศยปะ) ผู้ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลแห่งรัฐพิหารให้ควบคุมการขุดค้นซากโบราณสถานที่นา ลันทาของกรมโบราณคดีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๘ มีสาระสำคัญดังนี้
"ท่านกัสสปเถระพาเราผ่านเข้าสู่ทางกว้างที่จะไปสู่บริเวณ มหาวิทยาลัย มีสำนักสงฆ์(สังฆาราม)หมายเลข ๑ อยู่ทางซ้าย และสำนักสงฆ์หมายเลข ๔ เลข ๕ อยู่ ทางขวา ผ่านตรงนี้ไปแล้วเราเดินตรงไปจนกระทั้งถึงพื้นกว้าง เป็นที่ตั้งพระสถูปใหญ่องค์หนึ่ง เขาเขียนเลข ๑ เป็นเครื่องหมาย สถูปนี้เป็นโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่สุดในบริเวณมีส่วนทั้งใหญ่ทั้งสูงกว่าซาก อื่นที่ขุดค้นได้ มีบันไดอิฐเดินขึ้นไปได้จนถึงยอด เมื่อขึ้นถึงยอดสามารถมองเห็นบริเวณมหาวิทยาลัย และหมู่บ้านสารีบุตร โมคคัลลาน์อันตั้งอยู่ใกล้เคียงได้หมด มีความ รู้สึกใหม่เมื่อขึ้นไปถึงยอดสถูปองค์นี้ คล้ายกับได้ขึ้นไปอยู่บนยอดภูเขาทอง มองเห็นที่ตั้งกรุงเทพฯ ได้ทั้งหมด.
ลักษณะการก่อสร้างของมหาสถูป แสดงว่าสร้างต่อเติมกันมาหลายครั้งเพราะแผ่นอิฐที่วางเป็นรากตั้งแต่พื้นจน ถึงยอดมีลักษณะเล็กใหญ่และสีสันไม่เหมือนกัน แต่มีความแข็งแรงเท่ากัน ผู้นำบอกว่าเป็นศิลปะสมัยราชวงศ์คุปตะ.

"ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของสถูปใหญ่ สลักเป็นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม (อวโลกิเตศวร) เทพเจ้าแห่งความเมตตา เป็นรูปใหญ่ที่สุดกว่ารูปใดๆ ในบริเวณมหาวิทยาลัย ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีรูปพระมหาเถระนาคารชุน อาจารย์ใหญ่ฝ่ายลัทธิมหายาน และอธิการบดีองค์แรกของมหาวิทยาลัยนี้มีอักษรเทวนาครี หรือปรากฤต สลักไว้ที่รูปสลักแต่อ่านไม่ออก
ขอให้สังเกตในด้านตะวันออกของ สถูป จะเห็นซากสังฆารามหลายต่อหลายแห่ง แต่ดูเหมือนจะเป็นห้องเล็กๆ สำหรับนักศึกษาแต่ละรูปอาศัย มีอยู่แห่งหนึ่งเขาเขียนเลข ๑ ไว้เป็นเครื่องหมาย สังฆารามหลังนั้นกว้างขวางมากกว่าแห่งอื่น มีประตูเข้าเป็นพิเศษอยู่ทางเหนือ มีอิฐแข็งซ้อนกันอยู่ประมาณ ๒ หรือ ๓ ชั้น ภายในบริเวณกว้างขวาง มีแท่นหินขนาดใหญ่ ๓ แท่น แสดงให้เห็นการลงแรงในการสลัก และยกเข้ามาตั้งด้วยกำลังแห่งบุรุษผู้กำยำ มีหลักหินขนาดใหญ่อีกหลายหลัก บนหลักหินนั้น มีระเบียงหินติดต่อกันระหว่างหลักต่อหลักวงไปโดยรอบ พอเห็นก็รู้ได้ทันทีว่าถูกไฟเผาเพราะมีรอยร้าวและความหักพังอันเกิดจากแรง ร้อนของกองเพลิง.
"สังฆารามหมายเลข ๑ นี้ เดิม เป็นตัวตึก ๒ ชั้น มีจารึกไว้ว่า พระเจ้า เทวปาละกษัตริย์องค์ที่ ๓ ของราชวงศ์ ปาละ (ระหว่าง พ.ศ. ๑๔๕๘-๑๘๙๑)๔ เป็นผู้สร้าง สังเกตแผ่นอิฐตามกำแพงแสดงว่าสร้าง ๒ คราวด้วยกัน ทรุดโทรมเต็มทีแล้วแต่อิฐข้างบนยังดีอยู่ มีแท่นบูชา มีรูปพระพุทธเจ้า ซึ่งยังเห็นเพียงรอยอยู่ตรงส่วนที่สร้างครั้งแรก.
ผู้นำเที่ยวอธิบายว่า ตรงข้ามกับแท่นบูชาเป็นที่นั่งของอาจารย์เวลาสอนหนังสือ พวกนักศึกษานั่งบนพื้นโดยรอบ จากทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีซากบ่อน้ำสำหรับใช้ในมหาวิทยาลัยและข้างๆ มีห้องพักของนักศึกษาเรียงกันอยู่หลายห้อง มีหลังคาทำเป็นคุ้ม เขาอธิบายว่าเป็นศิลปะการทำหลังคาแบบโบราณของอินเดีย ตอนหนึ่งเราไปชมพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยไปพบแผ่นหินใหญ่แผ่นหนึ่งมีอักษร จารึกอยู่เต็ม ผู้นำพาบอกว่า ยกเอามาจากห้องเรียนหนังสือนั้น จารึกประวัติเหตุการณ์สำคัญ ๘ อย่างในชีวิตของพระพุทธเจ้า.
ที่สังฆารามหมายเลข ๔ ตั้งอยู่ทาง ขวามือเวลาเข้าไปได้พบสิ่งที่น่าพอใจในศิลปะการก่อสร้างสมัยโน้น ๒ อย่างด้วยกัน อย่างหนึ่งเป็นประตูมีช่องเล็กๆ เปิดขึ้นไปข้างบน ผู้นำอธิบายให้ฟังว่าช่องนี้ที่จริงไม่ใช่ประตู แต่เป็นช่องสำหรับเปิดรับแสงสว่างจากข้างนอก เพื่อให้ส่องเข้ามาข้างใน นับเป็นวิธีก่อสร้างให้มีความสะดวกแทนที่จะไปเจาะหน้าต่างซึ่งต้องเสียเวลา มากและแรงมาก อีกอย่างหนึ่งในสังฆารามหลังนี้มีผู้ค้นพบเหรียญเงินและเหรียญทองแดงสมัยพระ เจ้ากุมารคุปตะที่ ๑ เป็นอันมาก วินิจฉัยไม่ออกว่า เหรียญกษาปณ์เหล่านั้นเข้ามาอยู่ได้อย่างไรในสำนักสงฆ์ แต่มีผู้วินิจฉัยว่า กษัตริย์ผู้สร้างสังฆารามนี้คงสละพระราชทรัพย์ฝังไว้เป็นพุทธบูชาตาม ธรรมเนียมของกษัตริย์อินเดียโบราณ.

สังฆารามหลังที่ ๕ และที่ ๖ ตามหมายเลขอยู่ถัดกันไปเป็นตัวตึก ๒ ชั้น เราขึ้นไปดูเห็นยังมีรูปเตาไฟก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่เหลืออยู่ ๒๑ เตา เหตุใดจึงมีรูปเตาไฟอยู่ในบริเวณกุฏิสงฆ์นี้ มีอธิบายกันไว้ หลายอย่าง ในหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Guide to Nalanda ของนายโฆษ เขาวินิจฉัยว่าอาจเป็นที่หุงหาอาหารของนักศึกษา แต่หลักอันเคร่งครัดของมหาวิทยาลัยในสมัยโน้น คาดว่าภายในสังฆารามใกล้กับบริเวณศึกษาจะไม่อนุญาตให้ผู้ใดถือเอา สถานที่เหล่านี้เป็นที่หุงหาได้ จึงวินิจฉัยไปอีกทางหนึ่งว่า เตาไฟเหล่านั้น อาจก่อติดตั้งไว้ที่ต้มย้อมสบงจีวรของพระภิกษุสงฆ์ ด้วยว่ากิจอันนี้ ภิกษุในสมัยโน้นต้องทำด้วยตนเอง.
เราเดินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ที่บริเวณสังฆารามหมายเลข ๗ มีบริเวณหนึ่งทำด้วยศิลาแท่งทึบ มีเสาหินสลักรูปรอยต่างๆ ส่วนมากเป็นกิริยาท่าทางของมนุษย์และสัตว์ เป็นแบบสถาปัตยกรรมโบราณของอินเดีย ประมาณร้อยปีที่ ๖-๗ ติดต่อกัน มีหินสลักเป็นแผ่นกว่า ๒๐๐ แผ่น รูปสลักบางรูปเป็นกินนรกำลังดีดพิณ, รูปกังกร, รูปพระอัคนี, รูปท้าวกุเวร, รูป เทวะทรงนกยูง, เทวรูปและรูปสัตว์อื่นๆ อีกมาก อย่างบางตอนแสดงรูปชาดกในพระพุทธศาสนา รูปสลักเหล่านี้เห็นได้ตามเสาหิน และเคราะห์ดีที่เป็นหินแข็งพวกมุสลิมที่บุกเข้ามาไม่สามารถเอาไฟเผาผลาญได้.
สังเกตเห็นแบบของการก่อสร้าง อีกอย่างหนึ่งซึ่งทำแปลกจากตึกอื่นในสังฆารามทั้งหมด คือสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมบ้าง เป็นรูปตัดทะแยงบ้าง มีห้องพักนักศึกษาอยู่ตอนริมเป็นแถว ส่วนตรงกลางสร้างไว้เป็นบริเวณใช้เป็นที่นั่งของพวกนักศึกษา และมีฐานตั้งพระพุทธรูป อาจารย์ผู้บรรยายนั่งตรงหน้าฐานพระพุทธรูปนั้นๆ
ในสังฆารามมียกพื้นมีหลักหินรองรับ มีที่นั่งศึกษาอยู่ตรงกลาง แท่นพระพุทธรูปอยู่ตรงทางเข้า บางแห่งคงเป็นสำนักศึกษามหายาน เพราะตั้งรูปพระโพธิสัตว์แทนรูปพระพุทธเจ้า กำแพงสังฆารามส่วนมากก่อด้วยศิลาแลง ส่วนพื้นปูด้วยแผ่นหินขาวดำเหมือนกันตลอดมหาวิทยาลัย เห็นความแน่นหนาของมหาวิทยาลัยนี้ ทำให้คิดว่ามุสลิมผู้มามีอำนาจถ้าไม่มีความโหดร้ายอย่างสูงสุดและถ้าไม่ใช้ ความพยายามในการทำลายอย่างเหี้ยมโหด ตัวตึกในมหาวิทยาลัยไม่มีทางจะพังทลายได้ ดูความพินาศของมหาวิทยาลัยคราวนี้ ก็เห็นว่าผลแห่งความพยายามนั้นเป็นเรื่องช่วยให้สำเร็จทั้งหมดไม่ว่าทางดี หรือทางร้าย.

เจดีย์ในบริเวณมหาวิทยาลัย มีขนาดต่างๆ กัน บางองค์สูงขนาดเกือบ ๒๐๐ ฟุต บางองค์ขุดค้นกันได้ขึ้นมาใหม่เมื่อเร็วๆ นี ้ได้พบแผ่นโลหะทนไฟมีรอยถูกไฟเผายังเห็นเป็นรอยพระพุทธรูปสลักอยู่ในแผ่น โลหะนั้นก็มี ท่านผู้นำเล่าว่าการขุดค้นอีกคราวหนึ่งได้พบเตาหลอมโลหะ วินิจฉัยว่าเป็นเตาหลอมของมหาวิทยาลัย มีไว้สำหรับหล่อหลอมพระพุทธรูป แต่มีหลายคนออกความเห็นว่า เตาเหล่านั้นเป็นเครื่องมือของพวกนอกศาสนา เมื่อบุกเข้ามาได้แล้วก็ตั้งเตา นำเอาพระพุทธรูปและปูชนียวัตถุที่ทำด้วยโลหะมาหลอมทำลายในเตานี้.
ที่เจดีย์อีกองค์หนึ่ง เขาเขียนหมาย เลข ๑๔ องค์นี้ก็มีแต่ซาก มีรอยแกะสลักเป็นรูปพระพุทธเจ้าโดยรอบ และยังเห็นรอยวาดเขียนเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา อยู่หลายตอน ผู้นำบอกว่า ตามแบบของศิลปะ เป็นของหายากและหาดูที่ไหนไม่ได้ในอินเดียภาคเหนือนอกจากที่นี่ แต่มาดูแล้วยังไม่เห็นด้วยกับคำที่เขาบอก

นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปรากฏอยู่มากมาย ส่วนรูปพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นที่นิยมสร้างมากคือ อวโลกิเตศวร หรือปัทมปาณีคู่บารมีของพระอมิตาภพุทธะ, วัชรปาณี คู่บารมีของพระอักโษภยพุทธะ, มัญชุศรี, เทพชัมภละ ซึ่งเป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง, เทพีศักติของพระธยานีพุทธะ เช่น ตารา ศักติของพระอโมฆสิทธิพุทธะ, เทพีมาริจีใน ตระกูลโมหะ ซึ่งเป็นเทพีแห่งดวงอาทิตย์, เทพปรัชญาปารมิตา, หาริตี ศักติของเทพชัมภละ, เทพและเทพีพราหมณ์หรือฮินดู เช่น วิษณุ, เทพีทุรคา, เทพีสรัสวดี, เทพีอปราชิตา*

เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญในช่วงพุทธศต วรรตที่ ๑๐ - ๑๘

ศาสตราจารย์ประกิต (จิตร) บัวบุศย์ ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถานและบูรพาจารย์อีกท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย ได้ศึกษาวิจัยพบว่ามหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมสำคัญแห่งหนึ่งในสมัยต้นๆ กล่าวคือ สกุลศิลปะของสมัยคุปตะจากศูนย์กลางที่มหาวิทยาลัยนาลันทา แผ่เข้าสู่สุวรรณภูมิ (ประเทศไทย) ระยะแรกก่อนสุโขทัย - เชียงแสน เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๐๐ - ๑๓๐๐ เป็นศิลปะของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เช่น พระพุทธรูปสลักหินปูนสีเทาและสีเทาหม่น ทั้งขนาด ใหญ่และขนาดย่อม (นับเป็นคลื่นพุทธศาสนาคลื่นที่ ๓) และสกุลศิลปะของสมัยปาละและเสนา จากศูนย์กลางที่มหาวิทยาลัยนาลันทาแผ่เข้าสู่สุวรรณภูมิ (ประเทศไทย) ระยะที่ ๒ ก่อนสุโขทัย - เชียงแสน เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๓๐๐ - ๑๘๐๐ ซึ่งเป็นช่วงที่นิกายตันตระหรือมนตรยาน และนิกายวัชรยานของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ที่ มหาวิทยาลัยนาลันทา ศิลปะที่แผ่เข้ามา เช่น พระพุทธรูปสลักหินทรายสีครีมและ สีแดง (คลื่นพุทธศาสนา คลื่นที่ ๔)๖

ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมและประติมากรรม
ศิลปกรรม คือ ผลงานศิลปะที่เกิดจากพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกในรูปลักษณ์ ต่างๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือ ความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี หรือความเชื่อทางศาสนา
สถาปัตยกรรม คือ ศิลปะและวิทยาการแห่งการก่อสร้าง ซึ่งอาจอธิบายได้อีกอย่างหนึ่งว่า หมายถึงการจัดที่ว่างสามมิติเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ กล่าวคือ เพื่อให้เกิดคุณค่า ๓ ประการได้แก่ (๑) ความสะดวกและเหมาะสมในการใช้สอย (๒) ความมั่นคงแข็งแรง (๓) ความชื่นชม
ประติมากรรม คืองานศิลปะที่สร้างเป็นรูปทรงสามมิติโดยวิธีการแกะสลัก การปั้น หรือการผสมผเส๗
จากโครงสร้างทางกายภาพของมหาวิทยาลัยนาลันทาดังกล่าวข้างต้น พอมองเห็นได้ว่า ซากโบราณวัตถุที่ปรากฏอยู่นั้นแสดงออกให้เห็นร่องรอยแห่งศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และประติมากรรมของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูปมีทั้งแบบปูนปั้น สลักหิน หล่อทองสัมฤทธิ์ และภาพพิมพ์ ดังตัวอย่างที่นำมาแสดงไว้ใน ประมวลภาพซากมหาวิทยาลัยนาลันทา

ศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นบูรพาจารย์อีกท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้กล่างถึงประติมากรรมของสกุลศิลปะสมัยคุปตะ ซึ่งมีศูนย์กลางที่หมาวิทยาลัยนาลันทา ความตอนหนึ่งว่า
"ในสมัยคุปตะนี้ ศิลปวิทยาการต่างๆ รุ่งเรืองมาก แม้พวกพราหมณ์ ก็เริ่มพยายามแก้ไขศาสนาของตนแข่งกับพระพุทธศาสนา ความนับถือพระพุทธศาสนาก็ยังเป็นประธานอยู่ทั่วไปในอินเดีย ข้อนี้พึ่ง เห็นได้ด้วยโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูปก็ดี ลวดลายและรูปภาพที่จำหลักหรือเขียนไว้ตามถ้ำที่แต่งเป็นวัตถุก็ดี ที่เป็นฝีมือชาวมัชฌิมประเทศทำ อย่างงามวิจิตรเป็นของเกิดขึ้นในสมัยคุปตะเป็นพื้น แต่พระพุทธรูปที่พวกโยนกชาวคันธารราษฎร์คิดประดิษฐ์ขึ้นก่อนแล้วนั้น เมื่อชาวอินเดียในมัชฌิมประเทศรับคติมาทำพระพุทธรูปบ้างไม่เห็นชอบตามแบบของ พวกโยนกหมดทุกอย่าง เพราะฝรั่งกับแขกนิยมความงามต่างกัน พวกชาวมัชฌิมประเทศจึงมาคิดแก้ไขลักษณะพระพุทธรูปให้ผิดกับแบบของพวกโยนก หลายอย่าง เป็นต้นว่าดวงพระพักตร์ซึ่งทำเป็นอย่างหน้าเทวรูปฝรั่งนั้น ก็แก้ไขมาให้งามตามลักษณะชาวมัชฌิมประเทศ พระเกสาซึ่งชาวโยนกทำเช่นเส้นผมคนสามัญ ก็คิดแก้ไขทำให้เส้นพระเกสาวงเป็นทักษิณาวรรต ตามคัมภีร์มหา ปุริสลักขณะ ข้อว่า อุทฺธคฺคโลโม และเพิ่มมหาปุริสลักขณะตามข้ออื่นๆ เข้าอีก
"อีกประการหนึ่งมาถึงสมัยเมื่อสร้างพระพุทธรูปกัน แพร่หลายในมัชฌิมประเทศนั้น พวกที่ถือศาสนาพราหมณ์ก็คิดสร้างเทวรูปขึ้น ตามเยี่ยงอย่างการสร้างพระพุทธรูปบ้าง ก็ลักษณะรูปภาพในมัชฌิมประเทศนั้น ถ้าเป็นรูปเทวดาหรือกษัตริย์ ย่อมทำแต่งอาภรณ์กับตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อ ช่างจึงคิดทำรูปทรงส่วนตัวให้งดงาม อาศัยเหตุนี้ พวกช่างชาวมัชฌิมประเทศคงเห็นว่า แบบพระพุทธรูปที่ทำครองผ้าเป็นกลีบให้เหมือนห่มจริงๆ เช่นชาวโยนกชอบทำนั้นเสียทรวดทรงพระพุทธรูปไป จึงคิดแก้ไขข้อนี้ ชั้นแรกทำกลีบจีวรให้เล็กลงแล้วแก้ไข ต่อมาทำแต่พอให้เห็นเหมือนอย่างว่าครองผ้าบางๆ และมักทำแต่ห่มดอง (ที่ห่มคลุมก็มี) ด้วยประสงค์จะเอาความงามไปไว้ที่ทรวดทรงองค์พระพุทธรูป เป็นแบบอย่างเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศอีกอย่างหนึ่ง อนึ่งพระรัศมีซึ่งช่างชาวโยนกชอบทำเป็นประภามณฑลไว้ข้างหลังพระพุทธรูปนั้น พวกช่างชาวมัชฌิมประเทศก็คิดแก้ไขเปลี่ยนทำพระรัศมีเป็นรูปเปลวไว้บนพระเกตุ มาลา บางทีจะเกิดขึ้นเมื่อคิดทำพระพุทธรูปตั้งเป็นพระประธาน เพราะจะทำรัศมีอย่างประภามณฑลขัดข้อง จึ่งได้คิดแก้ไขเป็นอย่างอื่น ส่วนกิริยาท่าทาง พระพุทธรูปนั้น พวกช่างโยนกได้ตั้งแบบไว้แล้ว ๙ ปาง คือ

๑. ปางมารวิชัย
๒. ปางปฐมเทศนา
๓. ปางอุ้มบาตร
๔. ปางประทานอภัย
๕. ปางประทานพร
๖. ปางมหาปาฏิหาริย์
๗. ปางลีลา
๘. ปางปรินิพพาน

"ช่างชาวอินเดียข้างฝ่ายใต้ มาคิดทำพระพุทธรูปขึ้นอีกปางหนึ่ง คือ ปางนาคปรก เดิมทำพญานาคเป็นมนุษย์ มีรูปงู ๗ หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกศีรษะ กิริยาพญานาคนั้นนมัสการพระพุทธเจ้า ชั้นหลังมาทำพญานาคเป็นรูปงูขดตัวเป็นฐานตั้งพระพุทธรูปสมาธิบนนั้น ส่วนตอนหัวพญานาคชะเง้อขึ้นทางข้างหลังพระพุทธรูปไปแผ่พังพานปรกอยู่ข้างบน พระพุทธรูป รูปอย่างนี้ดูเหมือนพวกชาวกลิงคราษฎร์ข้างฝ่ายใต้จะได้คิดทำขึ้น หาแพร่หลายในมัชฌิมประเทศไม่ (พระนาคปรกมีตั้งแต่สมัยอมรวดี แต่เขาทำองค์พระเป็นปางมารวิชัย)
"มีพระพุทธรูปปางอีกชนิดหนึ่งทำปลีกก็มี ทำเป็นชุดก็มี กล่าวกันว่า เดิม เกิดขึ้นที่พระบริโภคเจดีย์ คือที่สังเวชนียสถานที่พระพุทธองค์ได้ทรงอนุญาตไว้ ๔ แห่ง กับที่ซึ่งนิยมกันว่าพระพุทธองค์ได้ทรงทำปาฏิหาริย์อีก ๔ แห่ง เพราะเจดีย-สถานทั้ง ๘ แห่งนี้ มีสัตบุรุษพากันไปบูชาปีละมากๆ (ทำนองเดียวกับที่ขึ้นไปบูชาพระพุทธบาทตามฤดูกาลในบัดนี้) พวก สัตบุรุษปรารถนาจะใคร่ได้สิ่งอันใดอัน หนึ่งมาเป็นสำคัญหรือเป็นคะแนนเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึกว่า ตนได้ศรัทธาอุตส่าห์ไปถึงที่นั้นๆ เมื่อมีประเพณีสร้างพระพุทธรูปเกิดขึ้น พวกที่อยู่ในท้องถิ่นแห่งพระบริโภคเจดีย์ ก็คิดทำพระพุทธรูปปางซึ่งเนื่องด้วยพระบริโภคเจดีย์นั้นๆ แกะพิมพ์ตีขึ้นไว้ตั้งร้อยตั้งพันสำหรับจำหน่ายจ่ายแจกแก่สัตบุรุษให้ซื้อหา ได้ทั่วหน้ากันโดยราคาถูก จึงเกิดมีพระพิมพ์ขึ้นด้วยประการฉะนี้ พระพิมพ์ที่ทำจำหน่าย ณ พระบริโภคเจดีย์ทั้ง ๘ แห่งนั้น เป็นพระ ๘ ปางต่างกัน คือ

๑. ปางประสูติ ทำเป็นรูปพระราช กุมารโพธิสัตว์มีรูปพระพุทธมารดาและรูปเทวดาเป็นเครื่องประกอบ
๒. ปางตรัสรู้ ทำพระมารวิชัยเหมือน ของคันธาระ
๓. ปางปฐมเทศนา ทำเหมือนของคันธาระหรือประทานพร
๔. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ มักทำเป็นพระลีลา แต่ทำเป็นพระยืนก็มี มีรูป พระพรหมกับพระอินทร์อยู่ ๒ ข้าง เป็นเครื่องประกอบ
๕. ปางมหาปาฏิหาริย์ ทำเป็นพระพุทธรูปมีดอกบัวรองหลายองค์ด้วยกัน มักมีรูปเทวดาและรูปมนุษย์เดียรถีย์เป็นเครื่องประกอบ
๖. ปางทรงทรมานช้างนาฬาคิรี ทำเป็นพระพุทธรูปลีลา มีรูปพระอานนท์และรูปช้าง บางทีมีแต่รูปช้างเป็นเครื่องประกอบ
๗. ปางทรงทรมานพระยาวานร ทำเป็นพระพุทธรูปนั่งอุ้มบาตร มีรูปวานรเป็นเครื่องประกอบ
๘. ปางมหาปรินิพพาน ทำเป็นพระพุทธรูปบรรทมเหมือนอย่างคันธารราษฎร์ มักมีรูปพระสถูป รูปพระสาวก และรูปเทวดาเป็นเครื่องประกอบ

"พระ ๘ ปางนี้ เลยถือกันเป็นพระชุด ชอบสร้างรวมในศิลาแห่งเดียวกัน ให้ปรากฏทั้ง ๘ ปาง สันนิษฐานว่าจะเกิดแต่สัตบุรุษผู้ที่ได้พยายามไปบูชาพระบริโภคเจีย์ครบทั้ง ๘ แห่ง แล้วสร้างขึ้นฉลองความ ศรัทธาอุตสาหะ จึงเกิดประเพณีสร้างพระ ๘ ปางขึ้นในมัชฌิมประเทศ ครั้งราชวงศ์ คุปต"๘

อิทธิพลเชิงวิชาการจากตักศิลาสู่นาลันทา
มาชุมทาร์ (R.C. Majumdar) กล่าวถึงระบบการศึกษาของอินเดีย โบราณ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองตักศิลา แคว้นคันธาระ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน) ว่า มีสำนักศึกษาอิสระของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ต่างๆ เปิดสอนวิชาการสาขาต่างๆ ตามที่ตนถนัด เช่น วิชาวรรณคดี ทั้งทางศาสนาและทางโลก ไวยากรณ์ บทกวี ศิลปะ ตรรกศาสตร์ ปรัชญา โหราศาสตร์ วิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น ดาราศาสตร์ แพทยศาสตร์ พิชัยสงคราม คณิตศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ผู้ศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ตามที่ตนต้องการ แต่ต้องเสียค่าเล่าเรียนแพงเพราะต้องกินอยู่กับสำนักศึกษานั้นๆ ส่วนผู้ศึกษาที่ยากจนก็สามารถเรียนได้โดยยอมทำงานรับใช้อาจารย์แทนค่าเล่า เรียน เช่น หมอชีวก โกมารภัจที่เลือกเรียนวิชาแพทยศาสตร์จนสำเร็จมาแล้ว รูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบสอนกันตัวต่อตัว หรือ ถ้ามีนักศึกษาหลายคน(บางสำนักมี ถึง ๑๐๐ คน) ก็จะนั่งเรียนล้อมอาจารย์ ในการสอนนั้น นอกจากมุ่งสอนรายวิชาที่ นักศึกษาเลือกแล้ว อาจารย์ยังให้การ อบรมบ่มนิสัยทางด้านหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และพิธีกรรมต่างๆ
มาชุมทาร์ กล่าวต่อไปว่า มหาวิทยาลัยตักศิลาเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาจนกระทั่งเกิดมหาวิทยาลัยนาลันทา ขึ้น จึง ค่อยๆ เสื่อมไป และกล่าวถึงมหาวิทยาลัยนาลันทาไว้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาชั้นยอด แห่งหนึ่งของเอเชีย รับนักศึกษาชั้นสูง ที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้ามา มีนักศึกษาทั้งจากภาคต่างๆ ของอินเดียและจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย

http://www.mcu.ac.th/site/wangnoi/index.php?page=276

Wednesday, June 23, 2010

จากตักศิลา ถึงนาลันทา

[ europe-map ]


ภาพ ที่ 1: แผนที่ปากีสถาน… พรมแดนด้านตะวันตกติดอาฟกานิสถาน-อิหร่าน, ด้านเหนือติดอาฟกานิสถาน-จีน, ด้านตะวันออกติดอินเดีย (แผนที่นี้แต้มสีภูเขาด้วยสีเขียวเข้ม ที่ราบสูงด้วยสีเขียวปนน้ำตาล ส่วนสีเหลืองใช้สีเหลือง) > Thank [ europe-map.org ]

ปากีสถาน มีพื้นที่ 803,940 ตารางกิโลเมตร = 1.7 เท่าของไทย, ประชากร 105.9 ล้านคน = 1.68 เท่าของไทย [ Wikipedia ] , [ Wikipedia ]

ปากีสถานแยกประเทศจากอินเดีย หลังได้รับเอกราช จากอังกฤษ เนื่องจากคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาต่างกัน คือ คนปากีสถานส่วนใหญ่นับถืออิสลาม คนอินเดียส่วนใหญ่นับถือฮินดู

หลัง จากนั้นก็ไม่ค่อยถูกกัน เนื่องจากปากีสถานมองว่า อินเดียมีส่วนยุยงให้ปากีสถานตะวันออก (บังคลาเทศ) ประกาศแยกตัวจากปากีสถาน (แยกกันเพราะงบประมาณทุ่มไปทางปากีสถานมากกว่าบังคลาเทศ)
ปากีสถานกับ อินเดียเคยทำสงครามแย่งชิงดินแดน แคชเมียร์กัน ขณะที่จีนยึดไปส่วนหนึ่งโดยไม่มีใครกล้าโวย (สมรรถภาพทางทหารต่างกันมาก) ทำให้ทั้ง 2 ประเทศรีบเร่งพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์โดยไม่ค่อยสนใจคนยากคนจนเท่าไหร่ ผล คือ ตาลีบันขยายอิทธิพลเข้าทางด้านตะวันตกของปากีสถาน ส่วนกบฏเหมาก็ขยายอิทธิพลทางตะวันตกของอินเดีย ซึ่งระยะยาวอาจจะมีอิทธิพลได้มากคล้ายๆ กับกบฏเหมาในเนปาล (จีนสนับสนุน)
คนไทยเรา คงจะได้ยินได้ฟังชื่อเมือง “ตักกศิลา (Taxilla)” มาแล้วไม่มากก็น้อย เมืองนี้ตั้งอยู่ในปากีสถาน อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอิสลามาบัด ห่างกันเพียง 32 กิโลเมตร [ Wikipedia ]

[ BBC ]


ภาพ ที่ 2: แผนที่ปากีสถานซึ่งทาง BBC ขยายจากมุมบนขวาไปสู่มุมล่างซ้าย เส้นสีน้ำเงินแสดงพื้นที่อิทธิพลของฝ่ายตาลีบัน ซึ่งประกาศใช้กฏหมาย อิสลาม และเน้นการลงโทษข้าราชการที่คดโกง > Thank [ BBC ]

โปรด ลากเส้นจากพื้นที่ที่ใกล้เมืองหลวง ‘Islamabad’ มากที่สุดจะพบว่า ระยะทางน้อยกว่า 100 กิโลเมตรแล้ว

http://health.buddythai.com/archives/371

โครงสร้าง ทางกายภาพ ของมหาวิทยาลัยนาลันทาตั้งแต่ก่อนที่จะเป็นมหาวิทยาลัย จนถึงการรวมสังฆารามหรือวิหาร ๖ แห่งเข้าด้วยกันโดยสร้างกำแพงล้อมให้อยู่ในบริเวณเดียวกัน ถ้ามองจากภาพที่ท่านเฮี่ยนจั๋งบันทึกไว้จะเห็นเป็นรูปร่างดังนี้
พระ เจ้าศักราทิตย์ (พระเจ้ากุมาร คุปตะที่ ๑) ทรงสร้างสังฆารามขึ้นที่สวนมะม่วงที่เคยเป็นปาวาริกัมพวัน จึงเกิดศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาและศาสตร์อื่นๆ ขึ้นมาอีก สังฆารามนี้จัดเป็นสังฆารามที่ ๑ ในยุคใหม่ ซึ่งต่อมากษัตริย์แห่งราชวงศ์ คุปตะหลายพระองค์ก็ทรงสร้างสังฆารามเพิ่มเติมอีก ๔ แห่งในบริเวณเดียวกันนั้น ดังนี้
* สังฆารามที่ ๒ อยู่ทางทิศใต้ของสังฆารามที่ ๑ พระเจ้าพุทธคุปตะ (พุธคุปตะ) เป็นผู้สร้าง
* สังฆารามที่ ๓ อยู่ทางทิศตะวันออกของสังฆารามที่ ๒ พระเจ้าตถาคต คุปตะเป็นผู้สร้าง
* สังฆารามที่ ๔ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสังฆารามที่ ๓ พระเจ้าพาลาทิตย์ (คือพระเจ้านรสิงหคุปตะ) เป็นผู้สร้างและยังทรงสร้างวิหาร ๓ชั้นอีก ๑ หลัง
* สังฆารามที่ ๕ อยู่ทางทิศตะวันตกของสังฆารามที่ ๔ พระเจ้าวัชระ (คือพระเจ้ากุมารคุปตะที่ ๒) เป็นผู้สร้าง

ท่านเฮี้ยนจั๋งบันทึกต่อไป ว่ามีกษัตริย์ แห่งอินเดียภาคกลางพระองค์หนึ่งทรงสร้างสังฆารามที่ ๖ ขึ้นทางทิศเหนือของสังฆารามที่ ๕ และทรงสร้างกำแพงสูงล้อมสังฆารามทั้ง ๖ แห่งไว้ภายใน มีประตูใหญ่เข้า-ออก เพียงประตูเดียว(อยู่ทาง ทิศใต้) จึงทำให้เกิดคำเรียกสังฆารามทั้ง ๖ แห่งรวมกันว่า นาลันทามหาวิหาร มาตั้งแต่บัดนั้น (ทั้งหมดนั้นท่านเฮี้ยนจั๋งบันทึกตามจดหมายเหตุเก่าของนาลันทาซึ่ง เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนท่านไปถึงนานพอสมควร) เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างดังกล่าวนี้ชัดขึ้น ขอให้พิจารณาข้อสังเกตต่อไปนี้

ข้อสังเกตที่ ๑ ลำดับการสืบราชสันตติ วงศ์
รามศังการ์ ตริปาฐิ (Rama Shankar Tripathi) เขียนลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ของกษัตริย์แห่งราชวงศ์คุปตะไว้ในหนังสือ History of Ancient India (๑๙๔๒, p.๒๖๖) ดังนี้


ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์นี้ ช่วยให้การศึกษาผู้สร้างสังฆาราม ๕ แห่งของกษัตริย์แห่งราชวงศ์นี้ได้ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับข้อสังเกตต่อไป


ข้อสังเกตที่ ๒ ผู้สร้างสังฆาราม
ลาลมณีโจชิ (Lal Mani Joshi) กล่าวถึงผู้สร้างสังฆารามทั้ง ๖ แห่งข้างต้นต่างไปจากที่ท่านเฮี่ยนจั๋งบันทึกไว้ดังนี้
๑. ผู้สร้างสังฆารามที่ ๒ คือ พระเจ้าสกันทคุปตะ
๒. ผู้สร้างสังฆารามที่ ๓ คือ พระเจ้าปุรุคุปตะ
๓. ผู้สร้างสังฆารามที่ ๔ คือ พระเจ้านรสิงหคุปตะ
๔. ผู้สร้างสังฆารามที่ ๕ คือ พระเจ้ากุมารคุปตะที่ ๒
๕. ผู้สร้างสังฆารามที่ ๖ คือ พระเจ้าหรรษะ๑ (คงหมายถึงพระเจ้าหรรษาวรรธนะแห่งอาณาจักรกาโนช ซึ่งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศในปัจจุบัน)


แต่อุเปนทระ ฐากุร (Late Prof. Upendra Thakur) แย้งว่า ผู้สร้างสังฆารามที่ ๖ ไม่ใช่พระเจ้าหรรษาวรรธนะแน่นอน เพราะท่านเฮี่ยนจั๋งไปอินเดียใน รัชสมัยพระเจ้าหรรษาวรรธนะ (และได้รับพระราชูปถัมภ์จากกษัตริย์พระองค์นี้โดยตลอด จึงไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่ท่านไปอินเดียแน่) อุเปนทระ ฐากุร เสนอว่า ผู้สร้างสังฆารามที่ ๖ และกำแพงสูงล้อมสังฆารามทั้ง ๖ แห่ง คือ พระเจ้ายโศวรมเทวะ (Yasovarmadeva แต่พบที่อื่นใช้ว่า ยโศธรมัน-Yasodharman) แห่งราชวงศ์เมาขรี ผู้ครองมาลวะ (พ.ศ. ๑๐๖๖-๑๐๘๗) เพราะพบศิลาจารึกนาลันทาระบุว่าพระองค์ทรงปกครองอาณาจักรอันกว้างขวางรวมถึง ภาคกลางของอินเดียด้วย๒


อายุกาล ของมหาวิทยาลัยนาลันทาอาจแบ่งอย่างคร่าวๆ ได้ ๓ ช่วง คือ
ช่วงที่ ๑ เป็นช่วงวิวัฒนาการจากสำนักสงฆ์เป็นมหาวิทยาลัย ช่วงนี้เริ่มขึ้นในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เริ่มตั้งแต่พระเจ้าศักราทิตย์ (พระเจ้ากุมารคุปตะ ที่ ๑) ทรงสร้างสังฆารามแห่งแรกขึ้น จนถึงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๑
ช่วงที่ ๒ เป็นช่วงเจริญรุ่งเรือง เริ่มตั้งแต่การรวมสังฆารามทั้ง ๖ แห่งเข้าด้วยกันเป็นมหาวิทยาลัยนาลันทาในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๔
ช่วงที่ ๓ เป็นช่วงเสื่อม เริ่มตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๔ จนถึงการดับ สูญในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๘
ช่วงที่ ๑ และที่ ๒ อยู่ในรัชสมัยของกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ ช่วงที่ ๓ อยู่ใน รัชสมัยของกษัตริย์ราชวงศ์ปาละ สาเหตุสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยนาลันทาค่อยๆ เสื่อมโทรมลงโดยลำดับในรัชสมัยของกษัตริย์ราชวงศ์ปาละนั้นคือการเกิดขึ้นของ นิกายตันตระของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในอินเดีย เมื่อนิกายนี้เจริญรุ่งเรืองขึ้นก็นำเอาวิธีการแบบกามสุขัลลิกานุโยค (การ หมกมุ่นมัวเมาในกามคุณ) ที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิไว้ในธรรมจักรปวัตตนสูตรว่าเป็นทางสุดโต่งที่บรรพชิต ควรหลีกเลี่ยง เพราะทำให้ติดอยู่ในเรื่องโลก ไม่อาจหลุดพ้น ไปได้ นี้เป็นสาเหตุภายใน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุภายนอกและเป็นสาเหตุสำคัญ คือ การถูกทำลายเผาผลาญโดยฝีมือของกองทหารชาวมุสลิมที่บุกรุกเข้ามาในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘ ผลของการรุกรานคือ พระสงฆ์ ถูกฆ่า พระคัมภีร์และหอสมุดถูกเผา พระพุทธรูปและอาคารทั้งหลายถูกทำลายลงอย่างราบคาบ คงเหลือแต่ซากฝังดินดังภาพ ที่ปรากฏ๓


การล่มสลาย ของนาลันทา ความเลือนหายไปแห่งพระพุทธศาสนาจากอินเดีย
ตำนานทิเบตบอกว่า นาลันทาถูกทำลายหลายครั้งก่อนที่จะล่มสลาย ครั้งที่ ๑ ประมาณ พ.ศ. ๑๑๔๓ หลังจากที่กษัตริย์ กุมารคุปตะที่ ๑ (ศักราทิตย์) สร้างนาลันทา มหาวิหารเสร็จ และกษัตริย์แห่งคุปตะ องค์ต่อมาได้ขยายการก่อสร้างเพิ่มเติม กษัตริย์หูณะชื่อมิหิลรกุละได้ทำลาย แต่นาลันทาก็กลับรุ่งเรืองขึ้นมาอีกในสมัยปาละครั้งที่ ๒ มีหลักฐานปรากฏในงานเขียนชื่อ มัญชุศรีมูลกัลปะว่า กษัตริย์ต่างชาติชื่อ โคมี (Gomi) เข้ามาอินเดียทางแคชเมียร์ ทำลายวัด และฆ่าพระสงฆ์จำนวนมาก นาลันทาถูกทำลายล่มสลายโดยสิ้นเชิงประมาณปี พ.ศ.๑๗๗๗-๑๘๙๙ **
ราชวงศ์ปาละสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๑๖๘๓ โดยการรุกรานของพวกเสนา (senas) จากทางใต้ซึ่งต่อต้านพระพุทธศาสนา พวกเสนานับถือพระวิษณุ(Vaishnavite) รื้อฟื้นนิกายวิษณุดั้งเดิมขึ้นมาใหม่ และสนับสนุนมหาวิทยาลัยตันตระให้เป็นสถาบันการศึกษาและวัฒนธรรม แต่อาณาจักรเสนาแห่งเบงกอลก็มีอายุสั้น ปราชัยต่อพวกมุสลิมเติร์กและพวกอัฟกัน ใน พ.ศ. ๑๗๔๒
พวกนิยมศาสนารุกรานเข้ามา ไม่ได้ทำลายเฉพาะองค์กรและบุคลากรทางด้านการเมืองและทหารเท่านั้น แต่ทำลายประชาชนและสถาบันศาสนาอื่นๆ ด้วย มีความเข้าใจผิดว่าพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เป็นเพียงผู้บูชารูปปั้น (idolater-ผู้บูชารูป วัตถุด้วยความหลงใหล)*** จึงถูกฆ่าอย่างทารุณ เจดีย์ วิหาร มหาวิทยาลัย และ โรงเรียน ทั้งหมดถูกเผาทำลาย เฉพาะที่นาลันทา การเผาทำลายห้องสมุดดำเนินต่อเนื่องไปเป็นเวลาหลายเดือน มินหซัด (Minhazad) นักประวัติศาสตร์มุสลิม บันทึกไว้ในหนังสือ ตวกตะ(Tavakata) ว่า
ใจกลางเมือง มีวัดขนาดใหญ่และมั่นคงกว่าที่อื่น ไม่สามารถบรรยายถึงความใหญ่โตโอ่อ่าได้ สุลต่าน(Sultan)บรรยายด้วยความชื่นชมว่า ถ้าใครปรารถนาที่จะสร้างตึกให้เทียบเท่ากับวัดนี้ต้องใช้จ่ายทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ ดินาร์แดง (hundred thousand red dinars) ต้องใช้เวลาสร้าง ๒๐๐ ปี และ ต้องใช้คนงานก่อสร้างที่มีประสบการณ์ และความสามารถมากที่สุดอีกด้วย จึงจะสามารถทำได้ แต่สุลต่านก็สั่งทหารว่า วัดทั้งหมดควรจะต้องถูกเผาด้วยการเอาน้ำมันราดแล้วจุดไฟเผา และทำลายให้ราบเป็นหน้ากลอง
สันนิษฐานว่า ขณะที่สุลต่านสั่งทหารเข้าเผาทำลายนาลันทานั้น กิจกรรมการเรียนการสอนและศาสนกิจอย่างอื่นยังคงดำเนินไปตามปกติ เห็นได้จากบันทึกของมินหซัดตอนต่อมาว่า
คนที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นจำนวนมาก หนีกระจัดกระจายไปต่างถิ่น หลายคนหนีไปได้สำเร็จ แต่ที่หนีไม่พ้นก็ถูกฆ่า การนับถืออิสลามหรือความตาย คือทางเลือกที่มาหมุด(Mahmud) กำหนดให้ประชาชน
คนที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นส่วนมากเป็นพราหมณ์ โกนศีรษะ(พระภิกษุนั่นเอง) ถูกฆ่า หนังสือจำนวนมากซึ่งถูกค้นพบในที่นั้น เมื่อกองกำลังมูฮัมหมัดมาเห็นเข้า จึงถามว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร แต่คนที่รู้เรื่องถูกฆ่าตายไปหมดแล้ว จึงไม่มีใครอธิบายได้
"ถ้าคนเหล่านั้น(ชาวนาลันทา)หันมานับถือศาสนาของเรา(อิสลาม) นั่นเป็นการดี ถ้าไม่เช่นนั้น พวกเขาต้องถูกคมดาบ"กองกำลังมูฮัมหมัดจึงเริ่มฆ่าคนที่อาศัยอยู่ในนาลันทา ต่อจากนั้น เก็บกวาดเอาทรัพย์สินเงินทอง จับชายหญิงที่รูปร่างหน้าดี ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน รวมทั้งเด็กไปบำเรอกาม ซึ่งเป็นภาพเหตุการณ์โหดร้ายเหลือที่จะบรรยาย
เมื่อเหตุการณ์ลุกลามใหญ่โต สุลต่าน ควบคุมไม่ได้ มีคนถูกจับและถูกฆ่าไปทั้งหมด ๑๒,๐๐๐ คน รวมทั้งชาย หญิง และเด็ก ทำลายล้างสถานที่มั่นทั้งหมด หลังจากที่เข่นฆ่า กวาดเก็บเอาทรัพย์สินจนพอใจแล้ว สุลต่านจึงกลับไปและประกาศชัยชนะที่ได้มาเพื่ออิสลาม มีประชาชนชายหญิง และเด็กออกมาร่วมแสดงความยินดี ขอบคุณพระเจ้า
เมื่อนาลันทาถูกทำลายลงอย่างนี้ พระสงฆ์ที่หนีรอดจากความตาย ได้เดินทางไปเนปาลและทิเบต เมื่อพระสงฆ์ถูกทำลาย ชาวพุทธก็ถูกละเลยไม่มีคนอบรมสั่งสอน นับแต่นั้นมา หลักการและวิธีการระหว่างชาวพุทธกับผู้ที่มิใช่ชาวพุทธก็ผสมผสาน เกิดความสับสน ในที่สุด ชาวพุทธก็ถูกกลืนเข้าไปในประชาคมที่มิใช่ชาวพุทธ เพราะแรงกดดันจากระบบวรรณะของฮินดู และแรงบีบคั้นจากมุสลิม
เจดีย์ซึ่งรอดพ้นจากการถูกทำลาย ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นวัดฮินดู ทำให้พระพุทธศาสนาสูญหายไปจากอินเดีย ปัจจุบัน มีเพียงกลุ่มชาวพุทธอิสระเล็กๆ เท่านั้น เหลืออยู่ในรัฐ เบงกอล รัฐอัสสัม รัฐโอริสสา และบางส่วนของอินเดียตอนใต้ พระพุทธศาสนาอยู่ในฐานะเกือบจะเรียกได้ว่าเป็น ศาสนาต่างถิ่นในถิ่นมาตุภูมิของตนเอง
ความสูญสลายแห่งพระพุทธศาสนาจากอินเดียในยุคที่ชาว เติร์กรุกราน ทำให้สรุปได้ว่า
การรุกรานของมุสลิมคือสาเหตุหลัก ของการเสื่อมสูญแห่งพระพุทธศาสนาจากดินแดนซึ่งเป็นถิ่นกำเนิด ของตนเอง


http://www.mcu.ac.th/site/wangnoi/index.php?page=27