Wednesday, June 23, 2010

จากตักศิลา ถึงนาลันทา

[ europe-map ]


ภาพ ที่ 1: แผนที่ปากีสถาน… พรมแดนด้านตะวันตกติดอาฟกานิสถาน-อิหร่าน, ด้านเหนือติดอาฟกานิสถาน-จีน, ด้านตะวันออกติดอินเดีย (แผนที่นี้แต้มสีภูเขาด้วยสีเขียวเข้ม ที่ราบสูงด้วยสีเขียวปนน้ำตาล ส่วนสีเหลืองใช้สีเหลือง) > Thank [ europe-map.org ]

ปากีสถาน มีพื้นที่ 803,940 ตารางกิโลเมตร = 1.7 เท่าของไทย, ประชากร 105.9 ล้านคน = 1.68 เท่าของไทย [ Wikipedia ] , [ Wikipedia ]

ปากีสถานแยกประเทศจากอินเดีย หลังได้รับเอกราช จากอังกฤษ เนื่องจากคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาต่างกัน คือ คนปากีสถานส่วนใหญ่นับถืออิสลาม คนอินเดียส่วนใหญ่นับถือฮินดู

หลัง จากนั้นก็ไม่ค่อยถูกกัน เนื่องจากปากีสถานมองว่า อินเดียมีส่วนยุยงให้ปากีสถานตะวันออก (บังคลาเทศ) ประกาศแยกตัวจากปากีสถาน (แยกกันเพราะงบประมาณทุ่มไปทางปากีสถานมากกว่าบังคลาเทศ)
ปากีสถานกับ อินเดียเคยทำสงครามแย่งชิงดินแดน แคชเมียร์กัน ขณะที่จีนยึดไปส่วนหนึ่งโดยไม่มีใครกล้าโวย (สมรรถภาพทางทหารต่างกันมาก) ทำให้ทั้ง 2 ประเทศรีบเร่งพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์โดยไม่ค่อยสนใจคนยากคนจนเท่าไหร่ ผล คือ ตาลีบันขยายอิทธิพลเข้าทางด้านตะวันตกของปากีสถาน ส่วนกบฏเหมาก็ขยายอิทธิพลทางตะวันตกของอินเดีย ซึ่งระยะยาวอาจจะมีอิทธิพลได้มากคล้ายๆ กับกบฏเหมาในเนปาล (จีนสนับสนุน)
คนไทยเรา คงจะได้ยินได้ฟังชื่อเมือง “ตักกศิลา (Taxilla)” มาแล้วไม่มากก็น้อย เมืองนี้ตั้งอยู่ในปากีสถาน อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอิสลามาบัด ห่างกันเพียง 32 กิโลเมตร [ Wikipedia ]

[ BBC ]


ภาพ ที่ 2: แผนที่ปากีสถานซึ่งทาง BBC ขยายจากมุมบนขวาไปสู่มุมล่างซ้าย เส้นสีน้ำเงินแสดงพื้นที่อิทธิพลของฝ่ายตาลีบัน ซึ่งประกาศใช้กฏหมาย อิสลาม และเน้นการลงโทษข้าราชการที่คดโกง > Thank [ BBC ]

โปรด ลากเส้นจากพื้นที่ที่ใกล้เมืองหลวง ‘Islamabad’ มากที่สุดจะพบว่า ระยะทางน้อยกว่า 100 กิโลเมตรแล้ว

http://health.buddythai.com/archives/371

โครงสร้าง ทางกายภาพ ของมหาวิทยาลัยนาลันทาตั้งแต่ก่อนที่จะเป็นมหาวิทยาลัย จนถึงการรวมสังฆารามหรือวิหาร ๖ แห่งเข้าด้วยกันโดยสร้างกำแพงล้อมให้อยู่ในบริเวณเดียวกัน ถ้ามองจากภาพที่ท่านเฮี่ยนจั๋งบันทึกไว้จะเห็นเป็นรูปร่างดังนี้
พระ เจ้าศักราทิตย์ (พระเจ้ากุมาร คุปตะที่ ๑) ทรงสร้างสังฆารามขึ้นที่สวนมะม่วงที่เคยเป็นปาวาริกัมพวัน จึงเกิดศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาและศาสตร์อื่นๆ ขึ้นมาอีก สังฆารามนี้จัดเป็นสังฆารามที่ ๑ ในยุคใหม่ ซึ่งต่อมากษัตริย์แห่งราชวงศ์ คุปตะหลายพระองค์ก็ทรงสร้างสังฆารามเพิ่มเติมอีก ๔ แห่งในบริเวณเดียวกันนั้น ดังนี้
* สังฆารามที่ ๒ อยู่ทางทิศใต้ของสังฆารามที่ ๑ พระเจ้าพุทธคุปตะ (พุธคุปตะ) เป็นผู้สร้าง
* สังฆารามที่ ๓ อยู่ทางทิศตะวันออกของสังฆารามที่ ๒ พระเจ้าตถาคต คุปตะเป็นผู้สร้าง
* สังฆารามที่ ๔ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสังฆารามที่ ๓ พระเจ้าพาลาทิตย์ (คือพระเจ้านรสิงหคุปตะ) เป็นผู้สร้างและยังทรงสร้างวิหาร ๓ชั้นอีก ๑ หลัง
* สังฆารามที่ ๕ อยู่ทางทิศตะวันตกของสังฆารามที่ ๔ พระเจ้าวัชระ (คือพระเจ้ากุมารคุปตะที่ ๒) เป็นผู้สร้าง

ท่านเฮี้ยนจั๋งบันทึกต่อไป ว่ามีกษัตริย์ แห่งอินเดียภาคกลางพระองค์หนึ่งทรงสร้างสังฆารามที่ ๖ ขึ้นทางทิศเหนือของสังฆารามที่ ๕ และทรงสร้างกำแพงสูงล้อมสังฆารามทั้ง ๖ แห่งไว้ภายใน มีประตูใหญ่เข้า-ออก เพียงประตูเดียว(อยู่ทาง ทิศใต้) จึงทำให้เกิดคำเรียกสังฆารามทั้ง ๖ แห่งรวมกันว่า นาลันทามหาวิหาร มาตั้งแต่บัดนั้น (ทั้งหมดนั้นท่านเฮี้ยนจั๋งบันทึกตามจดหมายเหตุเก่าของนาลันทาซึ่ง เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนท่านไปถึงนานพอสมควร) เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างดังกล่าวนี้ชัดขึ้น ขอให้พิจารณาข้อสังเกตต่อไปนี้

ข้อสังเกตที่ ๑ ลำดับการสืบราชสันตติ วงศ์
รามศังการ์ ตริปาฐิ (Rama Shankar Tripathi) เขียนลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ของกษัตริย์แห่งราชวงศ์คุปตะไว้ในหนังสือ History of Ancient India (๑๙๔๒, p.๒๖๖) ดังนี้


ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์นี้ ช่วยให้การศึกษาผู้สร้างสังฆาราม ๕ แห่งของกษัตริย์แห่งราชวงศ์นี้ได้ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับข้อสังเกตต่อไป


ข้อสังเกตที่ ๒ ผู้สร้างสังฆาราม
ลาลมณีโจชิ (Lal Mani Joshi) กล่าวถึงผู้สร้างสังฆารามทั้ง ๖ แห่งข้างต้นต่างไปจากที่ท่านเฮี่ยนจั๋งบันทึกไว้ดังนี้
๑. ผู้สร้างสังฆารามที่ ๒ คือ พระเจ้าสกันทคุปตะ
๒. ผู้สร้างสังฆารามที่ ๓ คือ พระเจ้าปุรุคุปตะ
๓. ผู้สร้างสังฆารามที่ ๔ คือ พระเจ้านรสิงหคุปตะ
๔. ผู้สร้างสังฆารามที่ ๕ คือ พระเจ้ากุมารคุปตะที่ ๒
๕. ผู้สร้างสังฆารามที่ ๖ คือ พระเจ้าหรรษะ๑ (คงหมายถึงพระเจ้าหรรษาวรรธนะแห่งอาณาจักรกาโนช ซึ่งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศในปัจจุบัน)


แต่อุเปนทระ ฐากุร (Late Prof. Upendra Thakur) แย้งว่า ผู้สร้างสังฆารามที่ ๖ ไม่ใช่พระเจ้าหรรษาวรรธนะแน่นอน เพราะท่านเฮี่ยนจั๋งไปอินเดียใน รัชสมัยพระเจ้าหรรษาวรรธนะ (และได้รับพระราชูปถัมภ์จากกษัตริย์พระองค์นี้โดยตลอด จึงไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่ท่านไปอินเดียแน่) อุเปนทระ ฐากุร เสนอว่า ผู้สร้างสังฆารามที่ ๖ และกำแพงสูงล้อมสังฆารามทั้ง ๖ แห่ง คือ พระเจ้ายโศวรมเทวะ (Yasovarmadeva แต่พบที่อื่นใช้ว่า ยโศธรมัน-Yasodharman) แห่งราชวงศ์เมาขรี ผู้ครองมาลวะ (พ.ศ. ๑๐๖๖-๑๐๘๗) เพราะพบศิลาจารึกนาลันทาระบุว่าพระองค์ทรงปกครองอาณาจักรอันกว้างขวางรวมถึง ภาคกลางของอินเดียด้วย๒


อายุกาล ของมหาวิทยาลัยนาลันทาอาจแบ่งอย่างคร่าวๆ ได้ ๓ ช่วง คือ
ช่วงที่ ๑ เป็นช่วงวิวัฒนาการจากสำนักสงฆ์เป็นมหาวิทยาลัย ช่วงนี้เริ่มขึ้นในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เริ่มตั้งแต่พระเจ้าศักราทิตย์ (พระเจ้ากุมารคุปตะ ที่ ๑) ทรงสร้างสังฆารามแห่งแรกขึ้น จนถึงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๑
ช่วงที่ ๒ เป็นช่วงเจริญรุ่งเรือง เริ่มตั้งแต่การรวมสังฆารามทั้ง ๖ แห่งเข้าด้วยกันเป็นมหาวิทยาลัยนาลันทาในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๔
ช่วงที่ ๓ เป็นช่วงเสื่อม เริ่มตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๔ จนถึงการดับ สูญในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๘
ช่วงที่ ๑ และที่ ๒ อยู่ในรัชสมัยของกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ ช่วงที่ ๓ อยู่ใน รัชสมัยของกษัตริย์ราชวงศ์ปาละ สาเหตุสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยนาลันทาค่อยๆ เสื่อมโทรมลงโดยลำดับในรัชสมัยของกษัตริย์ราชวงศ์ปาละนั้นคือการเกิดขึ้นของ นิกายตันตระของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในอินเดีย เมื่อนิกายนี้เจริญรุ่งเรืองขึ้นก็นำเอาวิธีการแบบกามสุขัลลิกานุโยค (การ หมกมุ่นมัวเมาในกามคุณ) ที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิไว้ในธรรมจักรปวัตตนสูตรว่าเป็นทางสุดโต่งที่บรรพชิต ควรหลีกเลี่ยง เพราะทำให้ติดอยู่ในเรื่องโลก ไม่อาจหลุดพ้น ไปได้ นี้เป็นสาเหตุภายใน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุภายนอกและเป็นสาเหตุสำคัญ คือ การถูกทำลายเผาผลาญโดยฝีมือของกองทหารชาวมุสลิมที่บุกรุกเข้ามาในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๘ ผลของการรุกรานคือ พระสงฆ์ ถูกฆ่า พระคัมภีร์และหอสมุดถูกเผา พระพุทธรูปและอาคารทั้งหลายถูกทำลายลงอย่างราบคาบ คงเหลือแต่ซากฝังดินดังภาพ ที่ปรากฏ๓


การล่มสลาย ของนาลันทา ความเลือนหายไปแห่งพระพุทธศาสนาจากอินเดีย
ตำนานทิเบตบอกว่า นาลันทาถูกทำลายหลายครั้งก่อนที่จะล่มสลาย ครั้งที่ ๑ ประมาณ พ.ศ. ๑๑๔๓ หลังจากที่กษัตริย์ กุมารคุปตะที่ ๑ (ศักราทิตย์) สร้างนาลันทา มหาวิหารเสร็จ และกษัตริย์แห่งคุปตะ องค์ต่อมาได้ขยายการก่อสร้างเพิ่มเติม กษัตริย์หูณะชื่อมิหิลรกุละได้ทำลาย แต่นาลันทาก็กลับรุ่งเรืองขึ้นมาอีกในสมัยปาละครั้งที่ ๒ มีหลักฐานปรากฏในงานเขียนชื่อ มัญชุศรีมูลกัลปะว่า กษัตริย์ต่างชาติชื่อ โคมี (Gomi) เข้ามาอินเดียทางแคชเมียร์ ทำลายวัด และฆ่าพระสงฆ์จำนวนมาก นาลันทาถูกทำลายล่มสลายโดยสิ้นเชิงประมาณปี พ.ศ.๑๗๗๗-๑๘๙๙ **
ราชวงศ์ปาละสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๑๖๘๓ โดยการรุกรานของพวกเสนา (senas) จากทางใต้ซึ่งต่อต้านพระพุทธศาสนา พวกเสนานับถือพระวิษณุ(Vaishnavite) รื้อฟื้นนิกายวิษณุดั้งเดิมขึ้นมาใหม่ และสนับสนุนมหาวิทยาลัยตันตระให้เป็นสถาบันการศึกษาและวัฒนธรรม แต่อาณาจักรเสนาแห่งเบงกอลก็มีอายุสั้น ปราชัยต่อพวกมุสลิมเติร์กและพวกอัฟกัน ใน พ.ศ. ๑๗๔๒
พวกนิยมศาสนารุกรานเข้ามา ไม่ได้ทำลายเฉพาะองค์กรและบุคลากรทางด้านการเมืองและทหารเท่านั้น แต่ทำลายประชาชนและสถาบันศาสนาอื่นๆ ด้วย มีความเข้าใจผิดว่าพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เป็นเพียงผู้บูชารูปปั้น (idolater-ผู้บูชารูป วัตถุด้วยความหลงใหล)*** จึงถูกฆ่าอย่างทารุณ เจดีย์ วิหาร มหาวิทยาลัย และ โรงเรียน ทั้งหมดถูกเผาทำลาย เฉพาะที่นาลันทา การเผาทำลายห้องสมุดดำเนินต่อเนื่องไปเป็นเวลาหลายเดือน มินหซัด (Minhazad) นักประวัติศาสตร์มุสลิม บันทึกไว้ในหนังสือ ตวกตะ(Tavakata) ว่า
ใจกลางเมือง มีวัดขนาดใหญ่และมั่นคงกว่าที่อื่น ไม่สามารถบรรยายถึงความใหญ่โตโอ่อ่าได้ สุลต่าน(Sultan)บรรยายด้วยความชื่นชมว่า ถ้าใครปรารถนาที่จะสร้างตึกให้เทียบเท่ากับวัดนี้ต้องใช้จ่ายทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ ดินาร์แดง (hundred thousand red dinars) ต้องใช้เวลาสร้าง ๒๐๐ ปี และ ต้องใช้คนงานก่อสร้างที่มีประสบการณ์ และความสามารถมากที่สุดอีกด้วย จึงจะสามารถทำได้ แต่สุลต่านก็สั่งทหารว่า วัดทั้งหมดควรจะต้องถูกเผาด้วยการเอาน้ำมันราดแล้วจุดไฟเผา และทำลายให้ราบเป็นหน้ากลอง
สันนิษฐานว่า ขณะที่สุลต่านสั่งทหารเข้าเผาทำลายนาลันทานั้น กิจกรรมการเรียนการสอนและศาสนกิจอย่างอื่นยังคงดำเนินไปตามปกติ เห็นได้จากบันทึกของมินหซัดตอนต่อมาว่า
คนที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นจำนวนมาก หนีกระจัดกระจายไปต่างถิ่น หลายคนหนีไปได้สำเร็จ แต่ที่หนีไม่พ้นก็ถูกฆ่า การนับถืออิสลามหรือความตาย คือทางเลือกที่มาหมุด(Mahmud) กำหนดให้ประชาชน
คนที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นส่วนมากเป็นพราหมณ์ โกนศีรษะ(พระภิกษุนั่นเอง) ถูกฆ่า หนังสือจำนวนมากซึ่งถูกค้นพบในที่นั้น เมื่อกองกำลังมูฮัมหมัดมาเห็นเข้า จึงถามว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร แต่คนที่รู้เรื่องถูกฆ่าตายไปหมดแล้ว จึงไม่มีใครอธิบายได้
"ถ้าคนเหล่านั้น(ชาวนาลันทา)หันมานับถือศาสนาของเรา(อิสลาม) นั่นเป็นการดี ถ้าไม่เช่นนั้น พวกเขาต้องถูกคมดาบ"กองกำลังมูฮัมหมัดจึงเริ่มฆ่าคนที่อาศัยอยู่ในนาลันทา ต่อจากนั้น เก็บกวาดเอาทรัพย์สินเงินทอง จับชายหญิงที่รูปร่างหน้าดี ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน รวมทั้งเด็กไปบำเรอกาม ซึ่งเป็นภาพเหตุการณ์โหดร้ายเหลือที่จะบรรยาย
เมื่อเหตุการณ์ลุกลามใหญ่โต สุลต่าน ควบคุมไม่ได้ มีคนถูกจับและถูกฆ่าไปทั้งหมด ๑๒,๐๐๐ คน รวมทั้งชาย หญิง และเด็ก ทำลายล้างสถานที่มั่นทั้งหมด หลังจากที่เข่นฆ่า กวาดเก็บเอาทรัพย์สินจนพอใจแล้ว สุลต่านจึงกลับไปและประกาศชัยชนะที่ได้มาเพื่ออิสลาม มีประชาชนชายหญิง และเด็กออกมาร่วมแสดงความยินดี ขอบคุณพระเจ้า
เมื่อนาลันทาถูกทำลายลงอย่างนี้ พระสงฆ์ที่หนีรอดจากความตาย ได้เดินทางไปเนปาลและทิเบต เมื่อพระสงฆ์ถูกทำลาย ชาวพุทธก็ถูกละเลยไม่มีคนอบรมสั่งสอน นับแต่นั้นมา หลักการและวิธีการระหว่างชาวพุทธกับผู้ที่มิใช่ชาวพุทธก็ผสมผสาน เกิดความสับสน ในที่สุด ชาวพุทธก็ถูกกลืนเข้าไปในประชาคมที่มิใช่ชาวพุทธ เพราะแรงกดดันจากระบบวรรณะของฮินดู และแรงบีบคั้นจากมุสลิม
เจดีย์ซึ่งรอดพ้นจากการถูกทำลาย ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นวัดฮินดู ทำให้พระพุทธศาสนาสูญหายไปจากอินเดีย ปัจจุบัน มีเพียงกลุ่มชาวพุทธอิสระเล็กๆ เท่านั้น เหลืออยู่ในรัฐ เบงกอล รัฐอัสสัม รัฐโอริสสา และบางส่วนของอินเดียตอนใต้ พระพุทธศาสนาอยู่ในฐานะเกือบจะเรียกได้ว่าเป็น ศาสนาต่างถิ่นในถิ่นมาตุภูมิของตนเอง
ความสูญสลายแห่งพระพุทธศาสนาจากอินเดียในยุคที่ชาว เติร์กรุกราน ทำให้สรุปได้ว่า
การรุกรานของมุสลิมคือสาเหตุหลัก ของการเสื่อมสูญแห่งพระพุทธศาสนาจากดินแดนซึ่งเป็นถิ่นกำเนิด ของตนเอง


http://www.mcu.ac.th/site/wangnoi/index.php?page=27

No comments:

Post a Comment