Saturday, February 12, 2011

อองรี มูโอต์ (Henry Mouhot) ผู้พบปราสาทหิน

นักสำรวจฝรั่งเศสชื่ออองรี มูโอต์ (Henry Mouhot)ผู้พบปราสาทหินในกัมพูชาโดยบังเอิญ

การเข้ามายังภูมิภาคนี้ของอองรี มูโอต์ ส่งผลให้ภูมิทัศน์ของวัฒนธรรม ทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงอย่างมากมายมหาศาล

เรารู้จักอองรี มูโอต์ ในนามของนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสที่อพยพไปอยู่อังกฤษ เดินทางมาสยามโดยการสนับสนุนของราชสมาคมภูมิศาสตร์และสมาคมสัตววิทยาแห่ง ลอนดอนเพื่อเข้ามาสำรวจดินแดนสยาม ลาว และกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ.2401-2404 (ค.ศ.1858-1861) หรือสมัยพระจอมเกล้าหรือรัชกาลที่ 4 นั่นคือห้วงเวลา 100 กว่าปีมาแล้ว

ก่อนเดินทางเข้ามาในสยาม อองรี มูโอต์ เคยเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศสและกรีกอยู่ในรัสเซียร่วม 10 ปี จากนั้นก็เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป ต่อมาอพยพไปอยู่อังกฤษ แต่งงานกับลูกสาวนักสำรวจชาวสก๊อตแลนด์ ที่นี่เอง ทำให้เขาหันมาสนใจด้านสัตวศาสตร์และพฤกษศาสตร์อย่างจริงจัง

กระทั่งมูโอต์ได้อ่านบันทึกของเซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง เรื่อง "The Kingdom and People of Siam" (ค.ศ.1857)
นั่นเอง ที่จินตนาการเกี่ยวกับโลกตะวันออกของเขาเจิดจ้าขึ้นในแผ่นดินจินตนาการ

อองรี มูโอต์ เดินทางออกจากลอนดอนเมื่อปลายเดือนเมษายน พ.ศ.2401 (ค.ศ.1858) มาถึงกรุงเทพฯ ช่วงปลายปีเดียวกัน จากนั้นก็ไปหาบาดหลวงปาลเลอร์กัวซฺ ผู้เป็นประมุขมิซซังในสยามและลาว อีกทั้งยังได้เข้าเฝ้า King Mongkut (รัชกาลที่ 4) และได้รับพระบรมราชานุเคราะห์เรื่องช้างกับเกวียนบรรทุกพาหนะสำหรับการเดิน ทาง

จากกรุงเทพฯ มูโอต์ มุ่งไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลัดเลาะไปถึงตราด จากตราดขึ้นไปเมืองกัมปอต กระทั่งถึงเมืองอุดงมีชัยอันเป็นเมืองหลวงเก่าของกัมพูชา จากนั้นก็ย้อนขึ้นไปตามทะเลสาปเขมร จนกระทั่งถึงนครวัดในเดือนมกราคมปี พ.ศ.2403 (ค.ศ.1860) ก่อนกลับกรุงเทพฯทางด้านอรัญญประเทศ

เมื่อผลงานเขียนเกี่ยวกับปราสาทหินและภาพวาดจำนวนมากของอองรี มูโอต์ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ความลี้ลับและมหัศจรรย์ของโลกตะวันออกจึงสั่นสะเทือนชีวิตและวิญญาณของชาวยุโรปอย่างกว้างขวาง กระทั่งมูโอต์ถูกขนานนามว่า เป็นตัวแทนของชาติตะวันตก
"ผู้ค้นพบปราสาทนครวัด" อันนับเป็นความมหัศจรรย์จากโลกตะวันออก เช่นที่บันทึกบางตอนกล่าวไว้ว่า ...........

"นี่คือความยิ่งใหญ่ที่ท้าทายวิหารโซโลมอน มันถูกสร้างขึ้นด้วยน้ำมือของไมเคิล แองเจโล แห่งยุคบรรพกาล และสามารถยืนเคียงกับสิ่งก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดของโลกตะวันตกได้อย่าง เต็มภาคภูมิ มันยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใดๆที่กรีกและโรมันทิ้งไว้เป็นมรดกแก่เรา เป็นภาพขัดแย้งอันน่าสลดใจ ท่ามกลางความเสื่อมโทรมป่าเถื่อนของดินแดนที่ให้กำเนิดมันขึ้นมา"

และทั้งหมดทั้งปวงเหล่านั้นนั่นเองที่ทำให้เขมรตกอยู่ในความสนใจของฝรั่งเศส อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน กระทั่งมีวลีที่ว่า "see Angkor and die" หลังกลับมาจากเขมร มูโอต์ ก็ตัดสินใจเดินทางออกจากกรุงเทพฯอีกครั้ง โดยคราวนี้เขาลงเรือล่องทวนแม่น้ำเจ้าพระยา แวะอยุธยา ขึ้นบกที่สระบุรี จากนั้นก็เดินเท้าผ่านป่าทึบของดงพระยาไฟ เข้าสู่ที่ราบสูงโคราช ก่อนเดินเท้าต่อไปยังชัยภูมิ ทว่าโชคร้ายที่เจ้าเมืองชัยภูมิไม่ให้ความร่วมมือจัดหาวัวต่างและช้างสำหรับเดินทางเข้าลาว ทั้งที่มูโอต์ มีจดหมายของเชื้อพระวงศ์จากกรุงเทพฯ และเจ้าเมืองโคราชไปแสดง ดังนั้นเขาจึงต้องวกกลับลงมากรุงเทพฯอีกครั้งเพื่อเอาจดหมายรับรองจากราช สำนักไทย ก่อนย้อนขึ้นไปทางเดิม และเดินทางเข้าสู่เมืองเลย

จากเลย เข้าสู่เวียงจันทร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองร้างเพราะถูกเผาโดยกองทัพสยามในสมัยยกไปปราบเจ้า อนุวงศ์ตอนสงครามกู้กรุงเมื่อปี พ.ศ.2371 (พ.ศ.1828) จากนั้นก็มุ่งไปเมืองปากลาย แล้วลัดเลาะฝั่งโขงขึ้นไปจนถึงเมืองหลวงพระบาง และสิ่งแรกที่จะต้องทำคือเข้าเฝ้าเจ้ามหาชีวิต "จันทราช" ที่หลวงพระบาง มูโอต์เขียนจดหมายไปถึงน้องชายที่อังกฤษ พร้อมกับบรรยายรายละเอียดต่างๆของการเข้าเฝ้า ดังตอนหนึ่งว่า "การเข้าเฝ้าครั้งนี้พี่เสียปืนไปหนึ่งกระบอก พร้อมกับของกำนัลอีกหลายชิ้น ใครจะเดินทางไปไหนมาไหนไม่ได้หากไม่เข้าเฝ้าถวายสิ่งของแด่กษัตริย์ เจ้านาย และขุนนางลาว"

"วันต่อมาพี่ได้เข้าพบเจ้าอุปราชผู้รอรับของกำนัลอยู่เช่นกัน พี่พยายามค้นหาสิ่งของที่น่าจะเอาไปขายร้านขายของเก่าเสียตั้งนานแล้ว ในที่สุดก็พบแว่นขยายกับแว่นตาเก่าๆ ที่จะทำให้เจ้าอุปราชดูเหมือนกอริลล่าหัวล้าน กับสบู่ก้อนเล็กๆ(ซึ่งคงเป็นประโยชนฺกับท่านมาก) โอเดอโคโลญน์ และบรั่นดีที่ถูกเปิดทันทีที่ได้รับ

"จากนั้นก็ได้มีการแจกจ่ายสิ่งของแก่พวกเจ้านาย ขุนนาง ได้แก่ภาพแกะสลักที่ซื้อมาจากกรุงเทพฯหมวกคอสแส็ครูปนโปเลียน (ที่ซื้อมาในราคาหนึ่งเพนนี)....

"พวกเขาตื่นเต้นกันมาก แถมยังทำท่าเสียดายที่พี่ต้องออกจากที่นั่นก่อนที่ข้าวของที่ติดตัวมาจะหมดเกลี้ยง"

เห็นได้ว่าทัศนะที่มูโอต์ มีต่อเจ้ามหาชีวิต เจ้านาย และขุนนางลาวนั้น บ่งชี้ชัดเจนว่า เป็นทัศนะในเชิงดูถูกเหยียดหยามจากสายตาชนชาวยุโรปผู้มีอารยะที่เดินทางเข้า ไปในบ้านป่าเมืองเถื่อน หรืออาจแปลความหมายได้ว่า จักรวรรดิ์นิยมยุโรปกำลังเอาอารยธรรมมายื่นให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากหลวงพระบาง มูโอต์ ตั้งใจจะเดินทางขึ้นเหนือสู่ชายแดนเวียตนาม จากนั้นเขาวางแผนล่องตามแม่น้ำโขงลงใต้ไปยังกัมพูชา (ซึ่งอยู่ติดพรมแดนโคชินไชน่า) อีกครั้ง ทว่าแผนการของเขาถูกยับยั้งโดยราชสำนักลาว ซึ่งอาจสงสัยว่าเหตุใดมูโอต์จึงต้องการเดินทางขึ้นเหนือไปชายแดนเวียตนาม และที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่า มีเหตุผลอันใดที่มูโอต์วางแผนว่าจะต้องล่องเรือลงมาตามแม่น้ำโขง เพื่อกลับเข้าไปในกัมพูชาอีก ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาก็ไปสำรวจมาแล้ว

และต้องไม่ลืมว่า นอกจากจะเก็บตัวอย่างพันธุ์พืชและสัตว์ รวมทั้งบันทึกวิถีชีวิตคนเผ่าชาติพันธุ์ต่างๆในเอเชียอาคเนย์แล้ว....คือนอก จากมูโอต์จะ "เขียนแผนที่ทางวัฒนธรรม" แล้ว เขายังมีเครื่องวัดพิกัดสำหรับ"เขียนแผนที่ทางรัฐศาสตร์" ไปพร้อมๆกันอีกด้วย

แต่ยังไม่ทันจะตัดสินใจว่าอย่างไร มูโอต์ ก็เป็นไข้ป่า และเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2404 (ค.ศ.1861) ขณะมีอายุเพียง 35 ปี ศพของเขาถูกฝังลงที่ริมแม่น้ำคาน สายน้ำที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขงด้านเหนือของวัดเชียงทองแห่งหลวงพระบาง

ต่อมาบันทึกและจดหมายของอองรี มูโอต์ถูกส่งกลับไปยังน้องชายของเขาในอังกฤษ และได้รับการตีพิมพ์ทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส หนึ่งปีหลังการตายของมูโอต์ ดินแดนที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงแห่งเวียตนามใต้ หรือโคชินไชน่าก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส

ต่อมาในปีพ.ศ.2406 (ค.ศ.1863) เรือรบฝรั่งเศสลำหนึ่งล่องทวนน้ำโขงขึ้นไปทอดสมออยู่หน้าราชวังของสมเด็จ นโรดม จากนั้นก็บีบบังคับให้สมเด็จเจ้านโรดม -ซึ่งเป็นสมเด็จทวดของเจ้านโดมสีหนุ- ยอมอยู่ภายใต้การอารักขาของตน
สำหรับฝรั่งเศสแล้ว กล่าวได้ว่าอองรี มูโอต์คือนักบุกเบิกดินแดนอาณานิคมอินโดจีนคนสำคัญคนหนึ่งทีเดียว เพราะเหตุว่าบันทึกของมูโอต์นั้นไม่ต่างอันใดกับ "คู่มือการเดินทางสู่โลกตะวันออก" ของจักรวรรดิ์นิยมยุโรปในเวลาต่อมา


#หนังสือพรมแดนบนแผ่นกระดาษ

Saturday, August 21, 2010

ร้อยเรียงเรื่องเล่า


ได้ เริ่มต้นการค้นคว้ามาหลายวันมากสำหรับดินแดนสิบสองปันนา หรือเชียงรุ่ง เนื่องจากเป็นดินแดนซึ่งเป็นรัฐไทยอิสระอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลยูนหนาน และมีความสัมพันธ์กับไทยมาช้านาน ประชาชนพลเมืองล้วนแต่เป็นชาวไทภูเขา โดยเฉพาะไทลื้อจะเยอะที่สุด และดินแดนสิบสองปันนาก็เปรียบเสมือเป็นเมืองหลวงหรือศูนย์กลางแห่งชาวไทลื้อ ด้วยเช่นกัน

ไทลื้อเป็นหนึ่งในกลุ่มชนชาติ ไท หรือ ไต ชนชาติที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาช้านานในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อุษาคเนย์ เป็นชนชาติที่มีภาษาวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีความสามารถทางการเพาะปลูกและการเกษตรกรรมเก่าแก่ไม่แพ้ชนชาติใดในโลก

มี หลักฐานทางประวัติศาสตร์และทางโบราณคดีได้กล่าวไว้ว่า ชาวไทลื้อดำรงชนชาติมานานกว่า 2,000 ปี อาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของชาวไทลื้อสถาปนาขึ้นเมื่อราว 800 ปีก่อน ตามหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า ขุนเจือง หรือ พญาเจือง ได้รวบรวมชาวไทลื้อกลุ่มเล็กๆให้เป็นปึกแผ่น


และสถาปนาอาณาจักร หอคำเชียงรุ่ง ขึ้นบริเวณเมืองเชียงรุ่งเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาแห่งนี้ในปี พ.ศ.1723 โดยประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นอยู่กับอาณาจักรตาลีฟูของจีน และครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรก มีพระนามว่า สมเด็จพระเป็นเจ้าหอคำเชียงรุ่งองค์ที่ 1

ชื่อเชียงรุ่ง มาจากเรื่องราวในพุทธตำนานของชาวไทลื้อที่ว่า เมื่อครั้งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ถึงยังดินแดนริมฝั่งโขงของ ชาวไทลื้อแห่งนี้ ก็เป็นเวลาเช้าพอดี จึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า เชียงรุ่ง อันเป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองสืบไปในอนาคต ดินแดนริมแม่น้ำโขงจึงถึงเรียกว่า เชียงรุ่ง สืบมา

ชาวไทลื้อออก เสียง พ.พาน เป็นเสียง ป.ปลา จึงออกเสียงหัวเมืองทั้งหมดที่มีสิบสองพันนาเป็นสิบสองปันนา ระบบการปกครองแบบพันนานี้ก็เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอินทร์เมืองรัชกาล ที่ 21แห่งอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง ในราวปี พ.ศ.2115 ซึ่งมีเมืองต่างๆ กระจายกันอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง


ตามคำเรียกขานอย่างคล้องจอง ของชาวไทลื้อที่ว่า 5 เมิงตะวันตก 6 เมิงตะวันออก อันหมายถึงเมืองหรือพันนาทางฝั่งตะวันตกของของแม่น้ำโขงนั้นมี 5 เมือง และฝั่งตะวันออกอีก 6 เมือง รวมกับเชียงรุ่งซึ่งเป็นศูนย์กลางอีก 1 เมือง เป็น 12 เมืองใหญ่ หรือ 12 พันนา

คนไทยจากเมืองไทยได้รู้จักและไปมา หาสู่ชาวไทลื้อสิบสองปันนาที่เป็นเสมือนชนร่วมสายบรรพบุรุษอีกครั้ง แต่ช่วงเวลาแห่งความสวยงามเหล่านี้ยืนอยู่ได้ไม่นานนัก วัฒนธรรมของชาวไทลื้อสิบสองปันนาก็ต้องมาถูกทำลายอีกครั้ง


ซึ่ง เป็นการทำลายล้างอย่างหนักหน่วงกว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมโดยระบอบคอมมิวนิสต์ เสียอีก และเป็นการทำลายวัฒนธรรมของชาวไทลื้ออย่างถาวรอีกด้วย นั่นคือการถูกทำลายจากการพัฒนาในระบอบทุนนิยมนั่นเอง


เคยมี ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งเป็นชาวเหนือโดยแท้ ได้พูดกับฉันไว้ครั้งหนึ่งว่า หากอาณาจักรล้านนา จะรวมตัวและตั้งประเทศขึ้นมาเอง ย่อมได้อยู่แล้ว และภาษาที่ใช้ประจำชาติ ก็จะต้องเป็นภาษาเหนือ ไม่ใช่ภาษากลาง ทำให้ฉันมองภาพว่า ถ้าเป็นไปได้จริง อาณาจักรล้านนา ก็คงจะใกล้เคียงกับ สิบสองปันนาเป็นแน่แท้

http://usawadee3.blogspot.com/2010/05/2000-800.html

Wednesday, July 7, 2010

แปดจอมเจดีย์

แปดจอมเจดีย์
1.พระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างเมื่อพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์แรกเข้ามาไทย
2.พระปฐมเจดีย์ สร้างเมื่อแรกพระพุทธศาสนาประดิษฐานในเมืองไทย จังหวัดนครปฐม (สูงที่สุดในประเทศไทย)
3.พระเจดีย์ใหญ่วัดชัยมงคล ที่พระนครศรีอยุธยา
4.พระมหาธาตุเมืองละโว้ คือปรางค์วัดมหาธาตุจังหวัดลพบุรี
5.เจดีย์วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย จังหวัด
6.พระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย
7.พระธาตุหริกุญชัย จังหวัดลำพู
8.พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม