Wednesday, August 12, 2009

ดำเนินสะดวก-กาญจนบุรี-นครปฐม

09.00 เตาตาลหวาน

คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองเข้าด้วยกัน โดยในสมัยโบราณการคมนาคมขนส่งทั่วไป จะเป็นทางบก ใช้สัตว์หรือเกวียน ทางเรือมีใช้บ้างเป็นส่วนน้อย เพราะท้องที่อำเภอดำเนินสะดวกใน สมัยก่อนเป็นที่ไร่ นอกนั้นก็เป็นต้นเสือหมอบและดงไผ่ แต่ก็ไม่ได้ขึ้นเป็นป่าทึบ ที่ดินสูงจากน้ำทะเลเพียงประมาณ 3 ฟุต เรียกกันว่าโคกไผ่ (ตำบลดอนไผ่ในปัจจุบัน) ไม่มีคลองมากมายเหมือนเช่นในปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นของคลองเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2409 ร.ศ.89 ปีขาล อัฐศก ร.ศ.85 จ.ศ.1228 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชดำริ เห็นว่าการคมนาคมที่ไปมาระหว่างพระนครกับสมุทรสาครมีคลองภาษีเจริญที่ทำการสัญจรไปมาได้สะดวกดี แต่ถ้ามีคลองระหว่างกรุงเทพฯ สมุทรสงคราม และราชบุรีก็จะสะดวกขึ้นอีกเป็นอันมาก โดยอาศัยแม่น้ำแม่กลองเป็นสื่อกลาง เมื่อมีคลอง การไปมาหาสู่ทางน้ำก็จะมีความสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่พระสมุหกลาโหม เป็นผู้อำนวยการขุดคลองที่เชื่อมจากแม่น้ำท่าจีนเริ่มจากปากคลองบางยาง ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กับแม่น้ำแม่กลอง ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ควบคุมดูแล และใช้กำลังของทหาร ข้าราชการ ชาวบ้าน รวมถึงชาวจีนที่มาอาศัยอยู่ในเมืองไทยใหม่ๆ ร่วมกันขุด โดยใช้กำลังของคนล้วนๆ กลางคืนจะทำการขุดทั้งคืนเพราะอากาศไม่ร้อน ใช้วิธีขุดดินขึ้นระยะหนึ่งแล้วเว้นไว้ระยะหนึ่ง พอน้ำหลากมาก็เซาะดิน ที่ไม่ได้ขุดพังไป เมื่อขุดคลองสำเร็จแล้ว จึงนำแผนขึ้นทูลเกล้า ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นคลองที่มีเส้นตรง ได้รับความสะดวกในการสัญจร จึงทรงพระราชทานนามคลองที่ขุดใหม่นี้ว่า “ คลองดำเนินสะดวก ” และได้ทำพิธีเปิดใช้คลองนี้เมื่อวันจันทร์ เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำ ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2411

หลังจากนั้นตลิ่งก็ถูกน้ำกัดเซาะ ซึ่งเป็นผลจากคลื่นเรือยนต์ประเภทต่างๆ ทำให้คลองขยายกว้างเป็น 10 วาถึง 20 วา ด้วยขนาดและความยาวของคลอง ประกอบกับเป็นคลองตัดตรงไปยังหลายพื้นที่ ทำให้มีเจ้านายผู้ใหญ่หลายคนมาจับจองที่ดินซึ่งรกร้าง พร้อมขุดคลองซอยแยกจากคลองใหญ่เพื่อเข้าสู่พื้นที่ของตน พื้นที่รกร้างเหล่านั้นจึงกลายเป็นเรือกสวนไร่นา

งบประมาณในการขุดคลองดำเนินสะดวก
งบประมาณในการขุดคลองดำเนินสะดวก ใช้งบประมาณ 1,400 ชั่ง เป็นเงิน 112,000 บาท โดยเป็นทรัพย์สินของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 400 ชั่ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จำนวน 1,000 ชั่ง และเนื่องจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วน ใหญ่ รัชกาลที่ 4 จึงทรงอนุญาตให้ท่านและคนในสายสกุลบุนนาคเข้า จับจองที่ดิน 2 ฝั่งคลองเป็นจำนวนมาก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ยังได้สร้างวัดขึ้นแห่งหนึ่งเป็นอนุสรณ์ชื่อว่า วัดปราสาทสิทธิ์ธิดาราม กับปราสาทหลังเล็กๆริมคลอง วัดนี้ถือเป็นวัดแรกริมฝั่งคลองดำเนินสะดวก ปัจจุบันตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางความยาวของคลอง ในเขตตำบลปราสาทสิทธิ์

การคมนาคมขนส่ง

หลังจากที่เปิดใช้คลองดำเนินสะดวกแล้ว คลองก็เต็มไปด้วยเรือนานาชนิดที่สัญจรไปมาไม่เว้นแม้แต่กลางคืน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2กองทัพญี่ปุ่นได้ใช้คลองดำเนินสะดวกเป็นเส้นทางเดินทางไปยังจ.ราชบุรี หลังจากนั้นคลองดำเนินสะดวกเป็นเส้นทางหลักที่สำคัญที่สุดในการสัญจรไปมาของ ชาวบ้านมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งภายหลังมีการตัดถนนใหม่ๆ ย่นระยะทางให้สั้นลง และเข้าถึงทุกที่ ในขณะที่คลองซอย ซึ่งมีมากถึง 200 สาย นั้นเริ่มตื้นเขิน และค่อยๆเลิกใช้ไปทีละสาย ชาวบ้านต่างหันมาใช้ถนนแทน

ประตูน้ำของคลองดำเนินสะดวกมี 2 แห่ง คือประตูน้ำบางยาง ในอ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และประตูน้ำบางนกแขวก ในอ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ทั้ง 2 แห่งกว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร สร้างขึ้นเป็นทางปล่อยเรือเข้าออกคลองซึ่งมีมากมายในสมัยก่อน และยังสามารถกั้นน้ำเค็มที่จะทำลายผลผลิตของชาวบ้านได้อีกด้วย ประตูน้ำทั้ง 2 แห่งได้ถูกทำลายลงในปี พ.ศ. 2488 จากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขัดขวางการเดินเรือของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามประตูน้ำทั้ง 2 แห่งก็ได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่เช่นเดิม

ความยาวและหลักเขต

ความยาวของคลองดำเนินสะดวกนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน เพราะเดิมทีเมื่อเริ่มขุดคลองไม่ได้ขุดจากแม่น้ำท่าจีนไปถึงแม่น้ำแม่กลอง หากแต่มีคลองบางยางแยกจากแม่น้ำท่าจีนลึก เข้าไป 3.8 กิโลเมตร เมื่อขุดจึงขุดจากต้นคลองบางยางไปออกแม่น้ำแม่กลอง มีประตูน้ำกั้นคลองบางยางกับคลองขุดใหม่ ถ้านับตามนี้จะมีความยาว 840 เส้น (32กิโลเมตร) แต่ถ้านับเริ่มตั้งแต่ที่แม่น้ำท่าจีนแล้วจะยาว 895 เส้น (35.8 กิโลเมตร)

ธรรมดาของคลองสมัยโบราณจะมีหลักเขตเพื่อบอกที่อยู่ที่แน่ชัดของผู้คนริม คลอง มีเสาหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 10 x 10 นิ้ว ปักไว้ที่พื้นดิน หลักเขตจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความยาวของคลอง คือ หลักละ 100 เส้น (8 กิโลเมตร) สำหรับคลองดำเนินสะดวกนั้น มีหลักทั้งหมด 8 หลัก

* หลักที่ 1 อยู่ในเขตคลองบางยางเดิม จุดเริ่มต้นจากประตูน้ำบางยาง นับเป็นระยะทางได้ 100 เส้น (4 กิโลเมตร) มีเสาหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 8x8 นิ้ว ปักไว้ที่พื้นดินริมคลองดำเนินสะดวก สูงจากพื้นดินขึ้นไป 1 วา สลักเลข 1 เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกให้ทราบ จากประตูน้ำบางยางซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นคลองดำเนินสะดวกที่อยู่ติดกับแม่น้ำ ท่าจีน จนถึงเสาหินเลขที่ 1 เรียกว่าหลักหนึ่ง อยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร โดยทั่วไปมักเรียกว่า คลองบางยาง
* หลักที่ 2 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 1 ไปอีก 100 เส้น (4 กิโลเมตร) มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 2 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก เรียกว่าหลักสอง ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
* หลักที่ 3 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 2 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 3 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 2 ถึงเสาหินเลข 3 เรียกว่าหลักสาม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
* หลักที่ 4 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 3 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 4 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 3 ถึงเสาหินเลข 4 เรียกว่าหลักสี่ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนมากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมักเรียกชุมชนตนเองตามหมายเลข เสาหิน เช่น ชาวหลักสี่ ชื่อโรงเรียนหรือวัด ก็มักจะเรียกตามไปด้วย เช่น โรงเรียนหลักสี่ราษฎร์สโมสร หรือวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ซึ่งมีหลวงพ่อโตที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก
* หลักที่ 5 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 4 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 5 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 4 ถึงเสาหินเลข 5 เรียกว่าหลักห้า ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนมากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมักเรียกตนเองว่า ชาวหลักห้า และมักเรียกชื่อโรงเรียนหรือวัด ตามหลักเขตดังกล่าวไปด้วย เช่น วัดหลักห้า หรือวัดปราสาทสิทธิ์นั่นเอง ซึ่งมีองค์หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ ซึ่งประชาชนทั่วไป ชาวไทย ชาวลาว และชาวจีนที่อาศัยอยู่ในชุมชนและใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก จะมีการแห่องค์หลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ทางเรือ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนในคลองดำเนินสะดวกได้สักการบูชาเป็นประจำทุกปี
* หลักที่ 6 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 5 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 6 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 5 ถึงเสาหินเลข 6 เรียกว่าหลักหก ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
* หลักที่ 7 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 6 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 7 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 6 ถึงเสาหินเลข 7 เรียกว่าหลักเจ็ด ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
* หลักที่ 8 เริ่มนับระยะทางจากเสาหินเลขที่ 7 ไปอีก 100 เส้น มีเสาหินลักษณะเดียวกันแต่สลักหมายเลข 8 เป็นสัญลักษณ์ปักไว้ริมคลองดำเนินสะดวก พื้นที่ระหว่างเสาหินเลข 7 ถึงเสาหินเลข 8 เรียกว่าหลักแปด ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
จากเสาหินหมายเลข 8 มีระยะทางของคลองดำเนินสะดวกอีกประมาณ 40 เส้น จึงจะถึงประตูน้ำบางนกแขวกหรือประตูน้ำหลักแปด ซึ่งเป็นประตูน้ำที่เปิดปิดเพื่อเข้าออกสู่แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งอยู่ในเขต ตำบลบางนกแขวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านมักเรียกว่าคลองบางนกแขวก

สมัยก่อนตลาดน้ำจะมีเพียงไม่กี่ครั้งใน 1 เดือน เพราะน้ำจะขึ้นลงตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีตลาดน้ำมากมายหลายแห่งในละแวกเดียวกัน โดยมากจะมีติดๆ กัน เรียกว่า นัด ดังนั้นคลองดำเนินสะดวกจึงเป็นที่ตั้งของตลาดน้ำหลายแห่ง ตลาดน้ำที่เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกคือ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ปากคลองลัดราชบุรี หรือคลองลัดพลี เป็นคลองที่ลัดเข้าตัวจังหวัดราชบุรีได้โดยไม่ต้องผ่านประตูน้ำ แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า นัดศาลาห้าห้อง นัดศาลาแดง หรือนัดหลักแปด เพราะเดิมสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ให้ปลูกศาลาเป็นไม้มี 5 ห้อง หลังคามุงกระเบื้องสีแดง เป็นที่พักคนงาน มีผู้คนหนาแน่นกว่าที่อื่นๆ ต่อมากลายเป็นตลาดสำคัญคู่กับนัดปากคลอง ซึ่งมีมาเก่าแก่ก่อนขุดคลองดำเนินสะดวก นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ยังได้เสด็จประพาสต้นตลาดน้ำแห่งนี้อีกด้วย [7]ตลาด น้ำคลองลัดพลีในปัจจุบันได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ อยู่ตรงข้ามกับตาดน้ำคลองต้นเข็ม ซึ่งเป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลก เป็นตลาดที่เกิดขึ้นมาใหม่ นอกจากนั้นก็ยังมีตลาดน้ำคลองโพธิ์หัก ตลาดน้ำบ้านแพ้วและตลาดน้ำเล็กๆแห่งอื่นอีกด้วย

คลองภาษีเจริญ เริ่มต้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ไปเชื่อมแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร รวมความยาว 28 กิโลเมตร โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศาลบุตร) เจ้าภาษีฝิ่นเป็นแม่กองขุด ใช้เงินภาษีฝิ่นพระราชทานเป็นเงิน 112,000 บาท พระราชทานนามว่า “คลองภาษีเจริญ” แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดคลองในปีพ.ศ. 2415 ต่อมาในปีพ.ศ. 2428 - 2429 และ2445 ได้มีการขุดลอกอีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ทำพิธีเปิดคลองเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม มีประตูน้ำ 2 แห่ง สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2450 เสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2452 คือ ประตูน้ำภาษีเจริญตอนนอก อยู่ในเขตภาษีเจริญ และประตูน้ำภาษีเจริญตอนในอยู่ทางด้านแม่น้ำท่าจีน





คลองที่ตัดผ่านถนนพระราม2 ( ธนบุรีปากท่อ)

ที่
ชื่อคลอง
หลัก กม.
ต้นน้ำ
ปลายน้ำ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
42
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
คลองบางขุนเทียน
คลองบางมด
คลองบัว
คลองลำประโดง
คลองวัดกก
คลองสนามชัย
คลองบัวหลวง
คลองพระยาราชมนตรี
คลองรางเข้
คลองลาดลำภู
คลองขุดใหม่
คลองเลนเปน
คลองระหาญ
คลองบางน้ำจืด
คลองคอกกระบือ
คลองเอกชัย
คลองหวายลิง
คลองยายดี
คลองลัดป้อม
คลองบางไผ่เตี้ย
คลองบางไผ่ไหม้
คลองย่านซื่อ
คลองขุด
คลองท่าแร้ง
คลองเกตุม
คลองสุนัขหอน
คลองนาขวาง
คลองนาเกลือ
คลองนิคม 2
คลองแบ่งเขต
คลองลาดใหญ่
คลองบางบ่อ
คลองบางประจัน
คลองลำภา
คลองบางจะเกร็ง
คลองกะซ้า
คลองบางจะเกร็ง 3
คลองตรง
คลองวัดใหม่ฯ
คลองตะเคียน
คลองโคน
คลองขุดดอนจั่น
คลองบ้านแขก
คลองเจ๊ก
คลองขุดกำนันสมบูรณ์
คลองขุดเล็ก
คลองตามล
คลองสะพานหัน
คลองเพชรรัตน์
คลองปู่ขาว
คลองผีหลอก
คลองทะลุแก้ว
คลองแพรกหนามแดง
คลองวันดาว
1+978
2+727
3+347
4+003
4+162
4+992
6+220
6+759
7+624
8+767
10+598
10+957
13+079
17+072
20+384
21+679
24+937
26+068
29
32+854
34+814
38+066
39+333
39+963
42+593
45+960
47+914
51+719
52+557
53+870
57+305
59+124
60+322
63+550
64+218
64+492
64+854
68+012
69+946
71+036
71+823
72+585
73+894
74+975
75+316
76+098
76+379
76+828
77+219
77+807
78+576
79+640
80+521
80+884
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย(สนามชัย)
คลองมหาชัย(สนามชัย)
คลองมหาชัย(สนามชัย)
คลองมหาชัย(สนามชัย)
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองภาษีเจริญ
คลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวก
คลองดำเนินสะดวก
แม่น้ำแม่กลอง
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำแม่กลอง
คลองสหกรณ์
คลองสหกรณ์
คลองสหกรณ์
คลองสหกรณ์
คลองสหกรณ์
แม่น้ำท่าจีน
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย) คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองมหาชัย (สนามชัย)
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน
แม่น้ำท่าจีน
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล
ทะเล

หมายเหตุ
1. คลองเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา - ท่าจีน ได้แก่ คลองภาษีเจริญ, คลองสามการ,
คลองมหาชัย (สนามชัย)
2. คลองเชื่อมแม่น้ำท่าจีน - แม่กลอง ได้แก่ คลองดำเนินสะดวก, คลองสุนัขหอน
3. เขตพื้นที่จังหวัดที่คลองตัดผ่าน กรุงเทพมหานคร (ลำดับที่ 1-13)
สมุทรสาคร (14-30), สมุทรสงคราม (31-51), ราชบุรี (52-54)
4. เขตทางน้ำชลประทาน คลองขุดใหม่ (11), คลองบางน้ำจืด (14)
คลองคอกกระบือ (15), คลองท่าแร้ง (24)

No comments:

Post a Comment